วันจันทร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

บทที่ 4 ศิลปวัฒนธรรมตะวันตกแบบไบแซนไทน์

 โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร
 กำเนิดของจักรวรรดิไบแซนไทน์
จักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire) หรือจักรวรรดิโรมันตะวันออก ถือกำเนิดจากการที่จักรพรรดิไดโอเคลเตียน (..285-305) ทรงดำริว่า จักรวรรดิโรมันอันมีดินแดน             กว้างใหญ่ไพศาลควรมีการปกครองแบบTretarchy  คือ  แบ่งศูนย์กลางทางการปกครองออกเป็น 2 ส่วน  ได้แก่  จักรวรรดิโรมันตะวันตกกับจักรวรรดิโรมันตะวันออก
จักรวรรดิโรมันตะวันตกมีพื้นที่ครอบคลุมยุโรปตะวันตก มีศูนย์กลางอยู่ที่กรุงโรม  จักรวรรดิโรมันตะวันออกมีพื้นที่ครอบคลุมดินแดนในยุโรปตะวันออก ชายฝั่งตะวันออกของทะเลเมดิเตอเรเนียน (มณฑลเลอวังต์) เอเชียไมเนอร์ ปาเลสไตน์ ซีเรีย อียิปต์ มีศูนย์กลางอยู่ที่บริเวณ ไบแซนติอุม  ต่อมาในปีค..346  จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงสร้างเมืองคอนสแตนติโนเปิลขึ้นที่ไบแซนติอุม(Bizantium)ในยุโรปตะวันออก เพื่อเป็นศูนย์กลางในการปกครองจักรวรรดิโรมันทางด้านตะวันออกเรียกว่า  จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือจักรวรรดิไบแซนไทน์ ไบแซนติอุมจึงได้ชื่อใหม่ว่ากรุงคอนสแตนติโนเปิล แต่นิยมเรียกกว่า “โรมใหม่” จักรวรรดิโรมันตะวันออกแยกตัวออกจากจักรวรรดิโรมันตะวันตกอย่างเป็นทางการในรัชสมัยของจักรพรรดิคอนสแตนติน
ในศตวรรษที่ 7 จักรวรรดิโรมันตะวันออกมีพื้นที่ลดน้อยลงเนื่องจากการรุกรานของ ชาวมุสลิมที่ยกเข้ามายึดครองคาบสมุทรไอบีเรีย เหลือพื้นที่เพียงยุโรปตะวันออก กับสองฝั่งของทะเลอีเจียนและเอเชียไมเนอร์ (กอบเกื้อ, 2528, 110) นอกจากนี้ยังต้องยอมรับรองฐานะของจักรวรรดิคาโรลินเจียนในยุโรปตะวันตกเมื่อค..812 และมีความขัดแย้งทางศาสนาด้วย จักรวรรดิไบแซนไทน์จึงมีฐานะอ่อนแอมาก

การปกครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์

จักรวรรดิไบแซนไทน์หรือโรมันตะวันออกมีการปกครองแบบเอกาธิปไตย (Autocrat)  โดยจักรพรรดิทรงมีอำนาจสูงสุดทั้งด้านการปกครองจักรวรรดิและทางศาสนา เพราะทรงเป็นตัวแทนแห่งเทพเจ้าทั้งหลาย(ซึ่งจักรพรรดิแห่งโรมันตะวันตกไม่เคยอ้างสถานภาพนี้) ทรงดำรงตำแหน่งผู้พิพากษาสูงสุดในจักรวรรดิ  และทรงใช้อำนาจผ่านขุนนางทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค
จักรวรรดิโรมันตะวันออกมีอายุยืนยาวตั้งแต่ค..330-1453 เนื่องมีสภาพภูมิประเทศเหมาะสมคล้ายป้อมปราการ มีเทือกเขาถึงเจ็ดเทือกและแม่น้ำล้อมรอบ มีกำแพงแข็งแรงและมีที่ตั้งคุมจุดยุทธศาสตร์ทางการทหาร  ทำให้ยากต่อการเข้าตี
ปัญหาสำคัญที่ทำให้จักรวรรดิโรมันตะวันออกหรือไบแซนไทน์เสื่อมอำนาจ คือ ความขัดแย้งภายในทางศาสนา  และการชิงดีชิงเด่นระหว่างกรุงโรมกับกรุงคอนสแตนติโนเปิลอันนำมาสู่ความหวาดระแวง  จนไม่สามารถต่อต้านอำนาจของจักรวรรดิมุสลิมในเอเชียไมเนอร์  ยุโรปและแอฟริกาได้ 
ความอ่อนแอของสถาบันจักรพรรดิในชั้นหลังก็เป็นปัจจัยสำคัญอีกประการหนึ่งที่ทำให้จักรวรรดิไบแซนไทน์ถูกจักรวรรดิมุสลิมยึดครองในตอนกลางคริสต์ศตวรรษที่15
พื้นฐานความเจริญของจักรวรรดิไบแซนไทน์ล้วนได้รับโดยตรงมาจากอารยธรรมกรีก ดังนั้นศิลปวัฒนธรรมของกรุงคอนสแตนติโนเปิลจึงแตกต่างจากจักรวรรดิโรมันตะวันตก  กล่าวคือขณะที่โรมันตะวันออกใช้ภาษากรีก โรมันตะวันตกกลับใช้ภาษาละติน ขณะที่คอนสแตนติโนเปิลตระหนักถึงความสำคัญของการใช้เหตุผลและปัญญา โรมันตะวันตกกลับเน้นศรัทธาแรงกล้า                ในศาสนาและละทิ้งการใช้เหตุผล (กอบเกื้อ, 2528, 111) 

 

จักรวรรดิไบแซนไทน์และคริสตศาสนา

สถาบันคริสต์ศาสนาของโรมันตะวันตกมีความแตกต่างจากโรมันตะวันออกหลายด้าน ทำให้กรุงคอนสแตนติโนเปิลกลายเป็นศูนย์กลางของคริสต์ศาสนาแบบ Christian  Hellenism            ซึ่งต่อมาในศตวรรษที่ 11 ได้กลายเป็นนิกายออร์โธดอกซ์  แพร่หลายอยู่ในยุโรปตะวันออก รัสเซียและกรีก  นิกายนี้เกิดจากการผสมผสานระหว่างความเชื่อเดิมในโลกคลาสสิก (โลกของชาวกรีก  หมายถึงอารยธรรมกรีก) กับคำสอนในคริสต์ศาสนาที่ผ่านการตีความของจักรพรรดิคอนสแตนติน ทำให้นิกายนี้เชื่อว่าจักรพรรดิเป็นตัวแทนของพระเจ้า  จึงทรงมีอำนาจเด็ดขาดเหนือสถาบันศาสนา  โดยนักบวชไม่อาจอ้างสิทธิเหนือจักรพรรดิดังที่ปรากฏในจักรวรรดิโรมันตะวันตก 
ในปีค..325 จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงจัดลำดับเมืองสำคัญทางศาสนาเป็น 5 เมืองคือ โรม คอนสแตนติโนเปิล อเล็กซานเดรีย แอนดิออชและเยรูซาเล็ม โดยให้โรมมีความสำคัญอันดับหนึ่ง คอนสแตนติโนเปิลมีความสำคัญอันดับสอง อีกสามแห่งมีความสำคัญเท่าเทียมกัน
การลำดับความสำคัญเช่นนี้ทำให้ศูนย์อื่นๆไม่พอใจ  เพราะกรุงคอนสแตนติโนเปิลไม่มีความสัมพันธ์ทางประวัติคริสต์ศาสนา  แต่ฝ่ายคอนสแตนติโนเปิลก็อ้างฐานะการเป็นเมืองหลวงและเป็นที่ประทับของจักรพรรดิซึ่งเป็นตัวแทนของพระเจ้า ทำให้กรุงโรมยุยงให้เมืองอเล็กซานเดรียและเมืองแอนดิออชก่อความวุ่นวาย  เมื่ออาณาจักรเปอร์เซียยึดครองซีเรียและอียิปต์ได้ก็ยิ่งทำให้คอนสแตนติโนเปิลห่างเหินกับโรมมากยิ่งขึ้น

การเกิดนิกายกรีกออร์โธดอกซ์และโรมันคาธอลิก

ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 8  จักพรรดิเลโอที่ 3 (Leo III ..717-741)                     ทรงยกเลิกการเคารพบูชารูปเคารพและรูปปั้นทั้งในโรมันตะวันออกและโรมันตะวันตกทำให้เกิดความปั่นป่วนวุ่นวาย  เป็นเหตุให้สถาบันจักรพรรดิสูญเสียอำนาจ  ครั้นถึงศตวรรษที่ 9  จึงมีการยกเลิกประกาศดังกล่าวเสียเพื่อยุติปัญหา แต่ก็ไม่สามารถฟื้นฟูอำนาจของสถาบันจักรพรรดิได้สำเร็จ ทำให้คอนสแตนติโนเปิลแยกกันทางปฏิบัติศาสนกิจในช่วงนี้ และแยกกันอย่างเป็นทางการ ในปีค..1054 เมื่อคอนสแตนติโนเปิลไม่ยอมรับการตีความของโรมเกี่ยวกับพิธีการรับศีลมหาสนิท และการที่โรมประกาศว่าพระสันตะปาปามีอำนาจเหนือศูนย์กลางทางคริสต์ศาสนาแห่งอื่นๆ ทำให้ศาสนาคริสต์แบ่งแยกออกเป็นสองนิกายคือกรีกออร์โธด็อกซ์และโรมันคาธอลิกในค..1054

 จักรวรรดิไบแซนไทน์และความสำคัญที่มีต่อโลกตะวันตก

พัฒนาการยาวนานในช่วง 1,000 ปี ทำให้อารยธรรมของจักรวรรดิไบแซนไทน์ มีอิทธิพลต่อยุโรปร่วมสมัยและยุโรปยุคหลังมากมายดังนี้
กฎหมายและการปกครองของไบแซนไทน์ มีการรวบรวมและปรับปรุงกฎหมายหลายฉบับ  ซึ่งจำแนกได้เป็น 4 ส่วนได้แก่
- Code คือ บรรดากฎหมายที่ใช้มาแต่โบราณ 
- Digestคือประมวลความเห็นทางกฎหมายของนักกฎหมายต่างๆ 
- Institutesคือตำรากฎหมาย 
- Novels คือภาคผนวกของ Codeและประมวลความเห็นของจักรพรรดิสมัยต่างๆ

ประมวลกฎหมายสำคัญเป็นของจักรพรรดิจัสติเนียน  เรียกว่า Corpus  Juris  Civilis  หรือ Justinian  Code  ซึ่งมีการปรับปรุงมาโดยตลอด  และยังคงมีอิทธิพลต่อวิถีชีวิตของชาวยุโรปตะวันออกในปัจจุบัน
การปกครองของจักรวรรดิไบแซนไทน์แบบเอกาธิปไตย  ได้สืบทอดมาสู่ชนชาติสลาฟหลายประเทศในยุโรปตะวันออก อาทิ ระบบการปกครองของพระเจ้าซาร์ในรัสเซีย (มีอำนาจทั้งด้านการเมือง การทหารและศาสนา) จักรพรรดิทรงใช้อำนาจส่วนภูมิภาคผ่านขุนนาง สถาบันจักรพรรดิดำรงอยู่ได้จากการสนับสนุนของกองทัพ  การมีระบบเงินที่มั่นคงและมีสถาบันศาสนาที่สั่งสอนให้ประชาชนจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์ (กอบเกื้อ, 2528, 120)
ศิลปวิทยาการไบแซนไทน์
จักรวรรดิไบแซนไทน์ได้สืบทอดผสมผสานศิลปวิทยาการของโลกคลาสสิก(กรีก)และโลกมุสลิมให้เข้ากับคริสต์ศาสนาไว้ได้ครบถ้วน มีการเลียนแบบวรรณกรรมกรีก แต่งานสร้างสรรค์ของจักรวรรดิไบแซนไทน์จริงๆ คือ แนวคิดทางเทววิทยา
ทางด้านวิทยาศาสตร์นั้น จอห์น เดอะ เกรมาเรียน (John the Grammarian)             เสนอทฤษฎีเรื่องความเร็วของวัตถุในสูญญากาศมิได้ขึ้นอยู่กับน้ำหนักของวัตถุนั้นๆ ส่วนไอติอุส(..396-454)  ก็ได้ค้นพบการรักษาโรคคอตีบและโรคตา นอกจากนี้ซีโมนเสธ (Symoen Seth)  เขียนสารานุกรมทางการแพทย์ที่ได้รับการถ่ายทอดจากชาวฮินดูและมุสลิม
ทางด้านศิลปะนั้น  จักรวรรดิไบแซนไทน์ ได้ผสมผสานรูปแบบศิลปะกรีก โรมันและเปอร์เซียอย่างกลมกลืน งดงามทั้งด้านการตกแต่งและโครงสร้าง  สิ่งเหล่านี้ทำให้นักวิชาการถือว่า  จักรวรรดิไบแซนไทน์  เป็นคลังด้านศิลปวิทยาการของกรีก โรมันและโลกมุสลิมที่ถ่ายทอดแก่โลกตะวันตกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 14-15 ตามลำดับ
มหาวิหารซานตา  โซเฟียเป็นสถาปัตยกรรมแบบไบแซนไทน์ที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุด  สร้างสมัยจักรพรรดิจัสติเนียนเมื่อคริสต์ศตวรรษที่6


มหาวิหาร Hagia Sophia (Santa Sophia) 532-537 AD.ถ่ายแบบจากวิหารPantheon ในกรุงโรม

 
จิตรกรรมและภาพโมเซอิกแบบไบแซนไทน์


ภาพโมเซอิกบอกความหมายว่าพระคริสต์ทรงอยู่เหนือสรรพสิ่งทั้งปวง (Christ  Pantocrator) ที่ Daphni ใกล้กรุงเอเธนส์  1020 AD.


ภาพพระคริสต์ทรงประทับยืนระหว่างเซนต์ปีเตอร์และเซนต์ปอลอย่างสง่างาม              ที่วิหารนักบุญคอสมาส์และนักบุญเดเมียน กรุงโรม (526 AD.)พระคริสต์ทรงเป็นทั้งผู้ช่วยของพระยะโฮห์วาและผู้สืบทอดของเทพซีอุส ภาพนี้มีความหมายคล้ายกับภาพ Christ  Pantocrator  ข้างบน

ภาพโมเซอิกมีพื้นสีสดใส  จักรพรรดิจัสติเนียนและจักรพรรดินีธีโอดอราพร้อมเครื่องสักการะที่วิหารซาน  วิตาลี  เมืองราเวนนา (547 AD.)
มีภาพของบิชอปแมกซิเมียน  ยืนเบียดจักรพรรดิอย่างไม่น้อยหน้า เพราะเป็นผู้ออกแบบวิหารแห่งนี้


ภาพเขียนชื่อ The Anastasis (14th century) ที่วิหารแห่ง Kariye  Camii เมือง             อิสตันบูล บรรยายความน่ากลัวของความตายและความหวังที่มีต่อการมีชีวิตใหม่ 

ภาพโมเซอิกเล่าเรื่องกำเนิดแห่งพรหมจรรย์ (พระแม่มารี, 1315-1341 AD.) สะท้อนวิถีชีวิตในสมัยไบแซนไทน์
ศาสนา 
ศาสนาในจักรวรรดิไบแซนไทน์  พัฒนามาจากคริสต์ศาสนาแบบกรีกนิยม (Hellenic Christianity) มีผลทำให้ศาสนาคริสต์แยกออกเป็นสองนิกาย คือกรีกออร์โธด็อกซ์นับถือกันในยุโรปตะวันออกและโรมันคาธอลิกนับถือในยุโรปตะวันตกอย่างเด่นชัด  และแม้ว่าจักรวรรดิไบแซนไทน์จะสลายตัวไปแล้วในคริสต์ศตวรรษที่ 15 แต่ชาวยุโรปตะวันออกยังคงยึดถือนิกายกรีกออร์โธด็อกซ์สืบมา ศูนย์กลางของนิกายได้ย้ายไปที่มอสโคว์(ซึ่งได้ชื่อว่า“โรมที่ 3”)แทนกรุงคอนสแตนติโนเปิล (กอบเกื้อ, หน้า 124-125)

การศึกษา 
ในสมัยราชวงศ์พาโลเลอุส (Pololeus .ศ.1294-1453) มีการศึกษาตามแนวคิดแบบกรีก-โรมันอย่างกว้างขวาง และมีการเผยแพร่วิทยาการกรีก-โรมันเข้าสู่ยุโรปตะวันตกอย่างมากโดยเฉพาะในศตวรรษที่14 นักการศึกษาคนสำคัญคือ Manuel  Chrysolorus ราชทูตไบแซนไทน์               ในยุโรปที่กระตุ้นให้ยุโรปสนใจวิทยาการของไบแซนไทน์ที่อิตาลีส่วน George Gemistos Plethon ปรมาจารย์ด้านการศึกษาปรัชญากรีกคลาสสิก(ผลงานของเพลโต)  ได้กระตุ้นให้มีการตั้งสถาบันเพลโตขึ้นที่เมืองฟลอเรนซ์  จนกลายเป็นศูนย์กลางการเผยแพร่ศิลปวิทยาการโลกคลาสสิกในยุโรปตะวันตก  ฯลฯ  ซึ่งทำให้เกิดขบวนการฟื้นฟูศิลปวิทยาการในยุโรปตะวันตกในเวลาต่อมา

ศาสนาอิสลามกับอารยธรรมตะวันตก

ศาสนาอิสลามหรือศาสนาของพวกซาราเซน (Saracenic) เกิดขึ้นเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 7 ในคาบสมุทรอาระเบีย  ซึ่งเป็นเขตทะเลทรายแห้งแล้งและเป็นถิ่นฐานของชนเผ่าเร่ร่อนชาวอาหรับ (Arabians) และชาวเบดูอิน (Beduins)  คนเหล่านี้มีความเป็นอยู่ต่างกับชาวเปอร์เซียนที่เจริญกว่ากันมาก  เมืองของชาวอาหรับบางเมืองเท่านั้นที่มีความเจริญ  เช่น เมืองเม็กกะ ซึ่งสนใจแต่เรื่องการค้ามากกว่าจะสร้างอารยธรรมของชาวอาหรับ
พระมะหะหมัดทรงเป็นชาวอาหรับบุคคลแรกที่ทำให้ชนเผ่าพันธุ์อาหรับเลิกพฤติกรรมแตกแยกและสู้รบกันเอง  เลิกนับถือพระเจ้าหลายองค์และปราศจากเป้าหมายในชีวิต  กลายเป็นพลเมืองของพระเจ้า  มีจักรวรรดิยิ่งใหญ่เจริญก้าวหน้าและเป็นบ่อเกิดวิทยาการหลากหลายยิ่งกว่ายุโรปตะวันตกในช่วงเวลาเดียวกัน  (กอบเกื้อ, 2528, 124-125)
คำว่าซาราเซนนิก หมายถึง ชาวอาหรับที่เป็นต้นกำเนิดศาสนาอิสลาม ต่อมากลายเป็นคำเรียกผู้นับถือศาสนาอิสลามทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นชาวอาหรับ เปอร์เซียน ยิวหรือเตอร์ก

ศาสดามะหะหมัด

ศาสดามะหะหมัดเกิดในตระกูลพ่อค้าวงศ์กูไรซิด  เมื่อโตขึ้นได้คุมคาราวานค้าขายแล้วแต่งงานกับหญิงหม้าย  การเดินทางทำให้มีวิสัยทัศน์  จากการพบพ่อค้าชาวฮิบรู  ชาวคริสต์และพ่อค้าที่นับถือศาสนาโซโรแอสเตอร์ (ชาวเปอร์เซีย)   ครั้นอายุ40ปีก็ประกาศตัวเป็นศาสดาพยากรณ์องค์สุดท้ายเพื่อเผยแพร่คำสอนของพระอัลหล่าห์
ระยะแรก ศาสนาอิสลามไม่ประสบความสำเร็จ  พระมะหะหมัดทรงต้องใช้เวลาถึง 9 ปี  ต่อมาจึงถูกขับไล่จากเมืองเม็กกะไปยังเมืองเมดินาเมื่อปีค..622  ซึ่งปีนี้ถือเป็นปีเริ่มฮิจเราะศักราช(Hegira แปลว่า Flight คือ  การลี้ภัย)  การเผยแพร่ศาสนาที่เมืองเมดินาประสบความสำเร็จด้วยดี  พระมะหะหมัดทรงได้รับการสถาปนาเป็นผู้ครองเมืองเมดินา
คำสอนในศาสนาของพระมะหะหมัดเน้นความมีระเบียบวินัย กฎระเบียบของสังคมและการปกครอง  ทำให้ดินแดนเผ่าพันธุ์อาหรับกลายเป็นจักรวรรดิที่ยิ่งใหญ่
อิสลาม  แปลว่า การยอมจำนนต่อพระประสงค์ของพระเจ้าคือพระอัลหล่าห์เพียงพระองค์เดียว พระคัมภีร์อัลกุรอาน (Koran)  ถูกรวบรวมไว้หลังจากพระมะหะหมัดสิ้นพระชนม์  ถือเป็นแนวทางการดำเนินชีวิตและพันธะทางการเมืองของชาวมุสลิม 




ศาสนาอิสลามสอนเรื่องการนอบน้อมถ่อมตน เอื้อเฟื้อ  อดกลั้น  สามัคคีรักใคร่ฉันท์พี่น้องและอุทิศชีวิตเพื่อศาสนา เป็นต้น ศาสนาอิสลามแบ่งเป็น 3 นิกาย คือ
1. นิกายสุหนี่ (Suni) เป็นกลุ่มที่สืบทอดมาจากเชื้อสายราชวงศ์อุมัยยาร์ด แพร่หลายในซีเรียและอียิปต์  เชื่อว่าประมุขของรัฐอิสลามและผู้สืบทอดตำแหน่งกาหลิบควรได้รับการคัดเลือกโดยตรงจากผู้แทนของชาวมุสลิมทั้งหมดตามประเพณีอาหรับโบราณในการเลือกหัวหน้าเผ่า  นิกายนี้ยึดถือความศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์อัลกูรอานและธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบมาในสมัยพระมะหะหมัด
2. นิกายชิอะห์ (Shiite)  เลื่อมใสบุตรเขยของพระมะหะหมัด (อาลี) และเชื้อสาย หมายถึงยึดถือสายเลือดและการเกี่ยวดองของพระมะหะหมัดเป็นสำคัญ ไม่เห็นด้วยกับระบบเลือกตั้ง  การปกครองดินแดนของรัฐที่นับถือนิกายชิอะห์ จึงเน้นสิทธ์ขาดของผู้ปกครอง นิกายนี้เชื่อในความศักดิ์สิทธิ์ของคัมภีร์อัลกูรอาน  มีศูนย์กลางอยู่ที่คาบสมุทรอาหรับและประเทศอิรัก
3. นิกายซูฟีร์ (Sufir)   เน้นการติดต่อกับพระเจ้าด้วยวิถีทางเร้นลับ  มิอาจอธิบายได้ด้วยเหตุผล  การเข้าถึงสัจจะของพระเจ้าทำได้ด้วยการทรมานร่างกายเพื่อให้จิตหลุดพ้นจากการคุมขังของร่างกายไปสัมผัสโลกอันลี้ลับของพระเจ้า นิกายนี้จึงสละความมั่งคั่ง หันไปใช้ชีวิตแบบยากไร้  เน้นหลักการทางศาสนาแบบบริสุทธิ์  ไม่สนใจการตีความทางการเมือง

การขยายตัวของจักรวรรดิมุสลิม
หลังการสิ้นพระชนม์ของพระมะหะหมัดในค..632 จักรวรรดิมุสลิมมีการการปกครองโดยมีกาหลิบ  และมีการแย่งชิงอำนาจโดยเชื้อพระวงศ์ของพระมะหะหมัดฝ่ายบิดาของมเหสีแต่ตอนหลังมีนายพลผู้หนึ่งชิงอำนาจไปแล้วตั้งราชวงศ์อุมัยยาร์ด  ส่วนราชธานีของจักรวรรดิมุสลิมย้ายไปยังเมืองดามัสกัส (ซีเรียปัจจุบัน)   ทำให้ศูนย์กลางของจักรวรรดิมุสลิมเปลี่ยนจากคาบสมุทรอารเบียเป็นบริเวณแถบเมโสโปเตเมีย  จากนั้นจึงขยายอำนาจเข้าไปในยุโรป  ก่อตั้งอาณาจักรมุสลิมในสเปน  อิตาลีตอนใต้และแอฟริกาตอนเหนือ 
หลังการสิ้นสุดของราชวงศ์อุมัยยาร์ดในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ราชวงศ์อับบาซิด มีอำนาจแทนที่แล้วย้ายเมืองหลวงไปยังแบกแดด  ทำให้เกิดความเจริญสูงสุดระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 8-9  แต่หลังคริสต์ศตวรรษที่ 9 ราชวงศ์อับบาซิดก็เริ่มเสื่อมอำนาจและขาดความมีเอกภาพเมื่อการปกครองแบบกาหลิบกระจายไปยังสเปน ซีเรีย อินเดียและแอฟริกาเหนือ ทำให้กาหลิบแห่งราชวงศ์อับบาซิดต้องหันไปพึ่งกำลังจากเผ่าพันธุ์ เซลจุก เตอร์ก ส่งผลให้พวกเซลจุกเตอร์กมีอำนาจขึ้นมาและยึดอำนาจจากราชวงศ์อับบาซิดได้เด็ดขาดเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 13 และในปีค..1453 ผู้นำแห่งจักรวรรดิออตโตมันเตอร์กแห่งจักรวรรดิมุสลิมก็ตีกรุงคอนสแตนติโนเปิลสำเร็จ


การขยายตัวของจักรวรรดิมุสลิมตั้งแต่คริสต์ศตวรรษที่ 7 ทำให้ดินแดนคาบสมุทรอาระเบีย กลายเป็นศูนย์กลางการค้าของโลกตะวันตก เมืองใหญ่หลายเมือง เช่น แบกแดด  ดามัสกัส  คอร์โดวาและอเล็กซานเดรีย กลายเป็นศูนย์กลางของพ่อค้าและช่างฝีมือตอบสนองความต้องการของจักรวรรดิมุสลิม  จักรวรรดิไบแซนไทน์และยุโรปตะวันตก  จึงมีความมั่งคั่งและเป็นเป้าหมายของการรุกรานในยุคสงครามครูเสด

อารยธรรมมุสลิม
ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 5-11 ยุโรปตะวันตกกำลังอยู่ในยุคกลาง แต่จักรวรรดิมุสลิมกลับเจริญก้าวหน้าอย่างมากมาย และมีส่วนสำคัญในการเสริมความก้าวหน้าของจักรพรรดิไบแซนไทน์อีกทั้งยังมีอิทธิพลต่อการฟื้นฟูศิลปวิทยาการของยุโรปตะวันตกในเวลาต่อมาด้วย
  ศาสนาอิสลาม  ระยะแรกของการเผยแพร่ศาสนามิได้ใช้วิธีการบังคับ แต่ใช้วิธีการเก็บภาษีเพื่ออภิสิทธิ์ทางศาสนาจากพวกนอกศาสนา  และห้ามพวกนอกศาสนารับราชการ ทำให้คนนอกศาสนาหันมานับถือศาสนาอิสลามกันมาก  ลักษณะเด่นของการนับถือศาสนาอิสลาม คือ ไม่ว่าเชื้อชาติใดเมื่อเป็นชาวมุสลิมแล้ว  จะได้รับการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมกันทั้งด้านการเมือง  สังคมและในสายตาของพระเจ้า  ศาสนาอิสลามจึงได้รับความนิยมเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ชาวมุสลิมสามารถสร้างจักรวรรดิยิ่งใหญ่ได้รวดเร็ว
ภาษา พระมะหะหมัดทรงห้ามการแปลคัมภีร์อัลกูรอานเป็นภาษาอื่น   ชาวมุสลิมจึงต้องเรียนรู้ภาษาอาระบิก เพื่อให้เข้าใจสัจจะในพระคัมภีร์  นอกนี้ความเสมอภาคในทางศาสนาก็เป็นปัจจัยสำคัญที่เกื้อหนุนให้ภาษาอาระบิกกลายเป็นภาษาสากลของโลก  การศึกษาพระคัมภีร์  ผสมผสานเข้ากับหลักศาสนา  ทำให้เกิดทั้งผลงานวรรณกรรมมากมาย
ปรัชญา  เน้นการปรับคำสอนในคัมภีร์อัลกูรอานมาใช้ผสมผสานอธิบายความหมายของปรัชญากรีก-โรมัน  เปอร์เซีย  อียิปต์  คริสเตียนและยิว  ซึ่งล้วนแล้วแต่มีความเจริญก้าวหน้ามาก่อนโลกอาหรับทั้งสิ้น  นักปรัชญามุสลิมยอมรับว่า  ปรัชญากรีก-โรมันเป็นบ่อเกิดแห่งความรู้และความเข้าใจโลก คำสอนทางศาสนาอิสลามเป็นประตูแห่งการเข้าถึงจิตใจและดวงวิญญาณ การทำจิตใจให้สว่างก็เป็นหนทางแห่งการพบสัจจะที่พิสูจน์ได้ด้วยเหตุผลเช่นเดียวกัน นักปราชญ์สำคัญของโลกมัสลิมในคริสต์ศตวรรษที่ 9 และคริสต์ศตวรรษที่ 10 คือ อัล คินดี ฟาราบี (al  Kindi al Farabi) และอาวินเซนนา (Avicenna) ในคริสต์ศตวรรษที่ 12 ปรัชญามุสลิมเจริญรุ่งเรืองอีกครั้งในสเปน  นักปรัชญาชื่อดังที่มีอิทธิพลต่อความคิดในยุโรปตะวันตกร่วมสมัย คือ อาแวรรอยช์ เดอ คอร์โดวา-Averroês  de Cordoba  (กอบเกื้อ,  2528, 136)


วรรณกรรม  วรรณกรรมในโลกมุสลิมเป็นมรดกที่เต็มไปด้วยสีสันละเอียดอ่อนและจินตนาการที่มีชีวิตชีวา อิทธิพลสำคัญของวรรณกรรมส่วนใหญ่มาจากวรรณคดีของเปอร์เซีย ขณะที่อิทธิพลของวรรณคดีกรีกและโรมันแทบไม่มีเลย  วรรณกรรมสำคัญได้แก่ Book of Kings ของ al  Firdausi (935-1020 AD.) เป็นมหากาพย์เฉลิมฉลองความรุ่งเรืองของจักรวรรดิเปอร์เซีย  วรรณกรรมเรื่อง Rubaiyat ของ Omar  Khayyam (1048-1124 AD.)  เป็นวรรณกรรมถ่ายทอดความงดงามของวัฒนธรรมเปอร์เซีย  เน้นปรัชญาความคิดที่มีอิทธิพลต่อโลกอาหรับร่วมสมัยและThe  Arabian  Nightsหรือ  Book  of  1001 Nights เขียนประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 8-9             เป็นวรรณกรรมที่มีชีวิตชีวา  บันทึกเรื่องราวความเป็นอยู่ของพลเมืองในดินแดนต่างๆที่จักรวรรดิมุสลิมแผ่ขยายอำนาจไปถึง

วิทยาการ  ความเจริญด้านวิทยาการของจักรวรรดิมุสลิมมีดังนี้
ด้านคณิตศาสตร์ ชาวมุสลิมเป็นชนชาติแรกที่นำเลขศูนย์ ( 0 ) มาใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และคิดค้นเลขอาระบิก นักคณิตศาสตร์สำคัญคือal-Khawarizmi (780-850 AD.)  ได้นำวิธีการคำนวณแบบกรีกและอินเดียมาผสมผสานกันเป็นวิชาพีชคณิต  ยุโรปตะวันตกได้นำวิชาการคำนวณของมุสลิมมาปรับปรุงใช้เป็นวิชาอื่นๆเช่นดาราศาสตร์และโหราศาสตร์  เป็นต้น
ด้านการแพทย์   ชาวมุสลิมได้รับความรู้ทางการแพทย์เบื้องต้นจากอารยธรรมกรีกสมัยเฮเลนนิสติก แพทย์ที่มีชื่อเสียงคือ al Razi  (ด้านการปรุงยา เป็นคนค้นพบโรคฝีดาษ)              และอะวิเซนนา (Avicenna ผู้พบเชื้อวัณโรค) ผลงานสำคัญของอะวิเซนนาคือ Canon ซึ่งเป็นสารานุกรมทางการแพทย์ที่ใช้ทั่วไปในยุโรปตะวันตกจนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 17  แพทย์มุสลิมรู้จักโรคกาฬโรค  การจัดตั้งโรงพยาบาล  ห้องสมุดแพทย์  ร้านขายยา  การจัดสอบแพทย์ทั่วไปและศัลยกรรม
ด้านศิลปะ มีลักษณะเด่นจากการผสมผสานศิลปะหลายรูปแบบ  สถาปัตยกรรมสำคัญคือมัสยิดในกรุงแบกแดด  ดามัสกัสและเปอร์เซีย มัสยิดทุกแห่งมักมีลานน้ำพุกว้างเพื่อการชำระร่างกายก่อนเข้าทำพิธีทางศาสนา  ลานน้ำพุมักล้อมรอบด้วยทางเดินใต้ชายคางดงาม               ตัวมัสยิดมักมีลักษณะเป็นห้องโถงกว้าง เรียบง่าย  มีเพียงแท่นยืนอ่านพระคัมภีร์ หลังคามัสยิดทำเป็นรูปโดมคล้ายศิลปะไบแซนไทน์  แต่มีหอคอยเล็กๆ(Minarets)ข้างโดมสำหรับเป็นที่เรียกชาวมุสลิมมาเข้าทำพิธีสวดมนต์ตามเวลาประจำวัน  มีการตกแต่งมัสยิดด้วยลวดลายอักขระ  ลวดลายพันธุ์พฤกษาและลายเรขาคณิต  ลวดลายต่างๆ อาจเขียนในพรมและเครื่องถ้วย อย่างไรก็ดีศาสนาอิสลามไม่อนุญาตให้เขียนรูปคนและสัตว์ในงานศิลปะ

ด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรม  พณิชยกรรมและหัตถกรรมเป็นที่มาของความมั่งคั่งแห่งจักรวรรดิมุสลิม  พ่อค้ามุสลิมมีความก้าวหน้าถึงขั้นใช้ระบบเช็คเงินสด  ใบเสร็จรับเงิน  จดหมายเครดิต  ตั้งบริษัทร่วมหุ้น  ตั้งสมาคมการค้า ฯลฯ  พ่อค้ามุสลิมเดินทางไปถึงรัสเซียตอนใต้  อินเดีย  เปอร์เซีย  แอฟริกาและยุโรป  ศูนย์กลางอุตสาหกรรมเครื่องแก้ว  อัญมณี  เครื่องถ้วยและไหม คือ แบกแดด  ศูนย์กลางผ้าฝ้าย คือ โมซูล   ศูนย์กลางแห่งเหล็กกล้าและไหมคือดามัสกัส ศูนย์กลางแห่งเครื่องหนังคือมอร็อกโค  ศูนย์กลางแห่งการผลิตอาวุธ คือ โตเลโด  นอกจากสินค้าเหล่านี้แล้วจักรวรรดิมุสลิมยังเป็นศูนย์กลางแห่งสินค้าฟุมเฟือย  เช่น  น้ำหอม  ผ้าลูกไม้  พรมและกระดาษด้วย (กอบเกื้อ, 2528, 136-138)

ความสัมพันธ์ระหว่างยุโรปตะวันออกกับจักรวรรดิมุสลิมและยุโรปตะวันตก
จักรวรรดิไบแซนไทน์และจักรวรรดิมุสลิม  เริ่มมีอิทธิพลต่อพัฒนาการของยุโรปตะวันตกหลายด้านประมาณคริสต์ศตวรรษที่ 12  แม้ว่าชาวมุสลิมกับชาวยุโรปจะรบกันมาโดยตลอดตั้งแต่ต้นยุคกลาง  แต่ทั้งยุโรปตะวันออกและยุโรปตะวันตกก็มิได้ไว้ใจกันเท่าใดนัก  ยุโรปตะวันตกนำความเจริญด้านการค้าและอุตสาหกรรม  การใช้ชีวิตที่หรูหราฟุ่มเฟือย  การคำนวณ  ปรัชญา  และการฟื้นฟูศิลปวิทยาการ  มาจากจักรวรรดิไบแซนไทน์และชาวมุสลิม
 ด้านสถาปัตยกรรมมีการผสมผสานและดัดแปลงสถาปัตยกรรมไบแซนไทน์เป็นศิลปะแบบโรมาเนสก์ (Romanesque) ของยุโรปตะวันตก    
ด้านวรรณกรรมก็ได้รับอิทธิพลการเขียนร้อยแก้วจากพันหนึ่งทิวา  นอกจากนี้ภาษาอารบิกและภาษาเปอร์เซียบางคำยังปรากฏอยู่ในวัฒนธรรมตะวันตกด้วยเช่น  algebra  bazaar  zero  chaque  เป็นต้น  ขบวนการฟื้นฟูศิลปวิทยาการซึ่งเริ่มเมื่อกลางคริสต์ศตวรรษที่ 14  จนถึงระดับสูงสุดในคริสต์ศตวรรษที่ 15 ล้วนได้รับอิทธิพลของอารยธรรมไบแซนไทน์และมุสลิมทั้งสิ้น
แบบฝึกหัดบทที่ 4 
1. การปกครองในข้อใดทำให้เกิดจักรวรรดิไบแซนไทน์ (Byzantine Empire)
. การปกครองแบบ Autocrat                                   . การปกครองระบอบ Monarchy
. การปกครองแบบ Tretarchy                                  . การปกครองแบบ Anarchy
2. หลังจากเกิดจักรวรรดิไบแซนไทน์  ข้อใดเป็นรูปแบบการปกครองของจักรวรรดิดังกล่าว
. การปกครองแบบ Autocrat                                   . การปกครองระบอบ Monarchy
. การปกครองแบบ Tretarchy                                  . การปกครองแบบ Anarchy
3. “โรมใหม่หมายถึง ข้อใด
.อิตาลี                                                                  . อเลกซานเดรีย
. คอนสแตนติโนเปิล                                              . เซนต์ปีเตอร์สเบอร์ก
4. ข้อใด มิใช่ พื้นที่ของจักรวรรดิโรมันตะวันออกในคริสต์ศตวรรษที่7
. ยุโรปตะวันออก                                                     . สองฝั่งของทะเลอีเจียน
. คาบสมุทรไอบีเรีย                                                  . เอเชียไมเนอร์
5. ข้อใดเป็นการปกครองที่จักรพรรดิทรงมีอำนาจสูงสุดทั้งทางจักรวรรดิและทางศาสนา
. การปกครองแบบ Autocrat                                 . การปกครองระบอบ Monarchy
. การปกครองแบบ Tretarchy                                . การปกครองแบบ Anarchy
6. จักรวรรดิโรมันตะวันออกใช้ภาษาอะไรในการสื่อสารอย่างเป็นทางการ
. ภาษากรีก                                                          . ภาษาละติน
. ภาษาสลาฟ                                                           . ภาษารัสเซีย
7. คริสต์ศาสนาแบบ Christian  Hellenism มีศูนย์กลางที่ใด
. กรุงโรม                                                                . กรุงปารีส
. กรุงวาติกัน                                                           . กรุงคอนสแตนติโนเปิล
8. ข้อใด ไม่ ถูกต้องเกี่ยวกับการแพร่หลายของศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์ 
. กรีก                                                                   . รัสเซีย
. ยุโรปตะวันออก                                                     . ยุโรปตะวันตก
9. ข้อใด มิใช่ เมืองสำคัญทางศาสนาคริสต์ที่จักรพรรดิคอนสแตนตินทรงจัดไว้เมื่อค..325
. เอเธนส์                                                                . โรม
. อเล็กซานเดรีย                                                      . คอนสแตนติโนเปิล


10.ข้อใด ไม่ ถูกต้อง
. Code  คือ กฎหมายที่ใช้มาแต่โบราณ                 
. Digest คือ ประมวลความเห็นทางกฎหมาย
. Institutes คือ ตำรากฎหมาย                                 
.Novels คือ นิยายเรื่องยาว








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น