วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บทที่1 สมัยก่อนประวัติศาสตร์ในยุโรป

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร
บรรพบุรุษของมนุษย์แยกสายวิวัฒนาการจากมนุษย์วานรในทวีปอาฟริการะหว่าง2,000,000-500,000 ปีมาแล้ว พวกเขาจัดอยู่ในกลุ่มมนุษย์ผู้ยืนตัวตรง (Homo  Erectus) สูงราว 3 ฟุตเศษ มีฟันลักษณะคล้ายฟันของมนุษย์ปัจจุบัน สมองยังเล็ก รู้จักใช้มือเพื่อทำประโยชน์ต่างๆได้ จัดเป็นมนุษย์วานรที่ก้าวหน้ามาก คือ รู้จักทำเครื่องมือหินด้วยวิธีง่ายๆเพื่อใช้คมในการตัด          ฟัน หรือขูด เรียกว่า ออสตราโลพิเธคัสหรือเรียกอีกชื่อว่า โฮโมฮาบิลิสหมายถึง มนุษย์ผู้ถนัดใช้มือพวกเขากระจายตามส่วนต่างๆของทวีปอาฟริกา  แหล่งสำคัญ คือ ถ้ำโอลดูเวย์ (ประเทศแทนซาเนีย) ค้นพบเมื่อค..1959 อายุราว 1,750,000 ปีมาแล้ว
ดร.หลุยส์ เลคกี  ผู้ค้นพบมนุษย์โฮโมฮาบิลิสเสนอว่า  มนุษย์โฮโมฮาบิลิสมีความก้าวหน้ากว่าบรรพบุรุษซึ่งมีความเป็นอยู่คล้ายวานร  มนุษย์โฮโมฮาบิลิสรู้จักใช้เครื่องมือ  แทนมือเปล่าและกินเนื้อสัตว์เป็นอาหาร มนุษย์โฮโมฮาบิลิส  มีวิธีจับสัตว์ คือ ไล่ต้อนฝูงสัตว์ลงไปในหนองน้ำ  แล้วจับตัวอ่อนกิน
มนุษย์ผู้ยืนตัวตรง (Homo Erectus) มีหลายกลุ่ม เช่น มนุษย์ผู้ยืนตัวตรงที่เคนยา รู้จักล่าสัตว์และทำเครื่องมือใช้อย่างกว้างขวาง (ประมาณ 2,000,000 ล้านปี) มนุษย์ผู้ยืน              ตัวตรงที่ปักกิ่งมีชีวิตอยู่ในราว 500,000 ถึง 400,000 ปีมาแล้ว ถูกขุดพบเมื่อค.ศ. 1929 ในถ้ำโจ-โขว-เตียนใกล้กรุงปักกิ่ง สูงประมาณ 5 ฟุต คิ้วโปน จมูกแบนกว้าง จมูกขากรรไกรใหญ่           คางเล็กเหมือนไม่มีคาง รูปหน้าคล้ายวานรแต่มีมันสมองใหญ่ 2 เท่าของวานร  รู้จักทำเครื่องมือด้วยหินเหล็กไฟและหินควอทซ์ซึ่งกะเทาะได้ง่าย เครื่องมือที่พบได้แก่ ขวานไม่มีด้ามทำจากหิน เหล็กไฟ
บรรพบุรุษของมนุษย์อีกพวกหนึ่ง คือ มนุษย์นีแอนเดอธัล (Neanderthal Man)          พบหลักฐานที่ถ้ำนีแอนเดอร์ ใกล้เมืองดุลเซลคอร์ฟ เยอรมนี  กระจายอยู่ตามส่วนต่างๆ ของยุโรป และรอบทะเลเมดิเตอร์เรเนียนเมื่อ 150,000 ปีมาแล้ว สูงกว่า 5 ฟุตเล็กน้อย ปริมาณมันสมองมีใกล้เคียงกับมนุษย์ปัจจุบัน รู้จักล่าสัตว์โดยใช้ไฟแบบมนุษย์ปักกิ่ง มีการวางโครงกระดูกและเครื่องมือที่ทำด้วยฟันและกระดุกสัตว์ในหลุมศพ  สันนิษฐานว่า  มีการประกอบพิธีศพ และอาจจะมีความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องวิญญาณอมตะ

บรรพบุรุษของมนุษย์ปัจจุบัน มีวิวัฒนาการประมาณหลายหมื่นปีมาแล้ว                     นักมานุษยวิทยาเรียกบรรพบุรษมนุษย์ปัจจุบันว่า “มนุษย์สมัยใหม่” หรือ “มนุษย์ฉลาด-Homo Sapiens” มนุษย์ปัจจุบัน ไม่ว่าจะมีรูปร่าง ผิวพรรณ ภาษาหรือเชื้อชาติใด  ล้วนสืบเชื้อสายมาจากพวกโฮโม เซเปียนส์
มนุษย์โคร-มันยอง (Cro-Magnon Man) เป็นมนุษย์สมัยใหม่ที่มีหลักฐานชัดเจนที่สุด  โครงกระดูกของมนุษย์โคร-มันยองพบครั้งแรกที่แคว้นเวลส์ในประเทศอังกฤษ เมื่อ               ค.ศ.1823  ต่อมาในค.ศ. 1868 จึงพบโครงกระดูกมนุษย์โคร-มันยองเพิ่มที่ฝรั่งเศส  มนุษย์โคร-มันยองมีอายุประมาณ 35,000 ปีมาแล้ว  จัดเป็นมนุษย์ยุคหินเก่า  มีความสูงต่ำกว่า 6 ฟุตเล็กน้อย  มีปริมาณมันสมองใกล้เคียงกับชาวยุโรปปัจจุบันและมีอวัยวะคล้ายมนุษย์ปัจจุบัน
ก่อนที่อารยธรรมลุ่มแม่น้ำไนล์ในแอฟริกาและอารยธรรมลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติสในเอเชียไมเนอร์จะถูกนำไปเผยแพร่ (เมื่อประมาณก่อน 1,200 ปีก่อนคริสต์ศักราช)นั้น ทวีปยุโรปถูกจัดอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ซึ่งจำแนกเป็น สมัยหินเก่า (35,000-16,000 BC.) สมัยหินกลาง (16,000-10,000 BC.)  สมัยหินใหม่ (10,000-1,200 BC.)
มนุษย์ยุคหินเก่าที่ปรากฏหลักฐานโดดเด่น คือ มนุษย์โคร-มันยอง เรียกตามชื่อ            ถ้ำโคร-มันยองทางทิศตะวันตกของฝรั่งเศส ค้นพบโครงกระดูกและศิลปวัตถุจำนวนมาก จัดเป็นมนุษย์สมัยใหม่ หรือมนุษย์โฮโมซาเปียนส์กลุ่มหนึ่ง รู้จักใช้เครื่องมือหิน  รูปร่างสูงใหญ่เกือบ 6 ฟุต กระโหลกศีรษะยาว ใบหน้าสั้น ปริมาณสมองใกล้เคียงชาวยุโรปปัจจุบัน พบหลักฐานแพร่กระจายทั่วยุโรปและเอเชีย  โดยเฉพาะทางตอนใต้ของฝรั่งเศสและตอนเหนือสเปน มีความสามารถทางการเขียนภาพบนผนังถ้ำ  รู้จักเผาศพและสักบนใบหน้า มีการแกะสลักหินเป็นรูปหญิงอ้วน เรียกว่า  “รูปวีนัส แห่งวิลเลนดอร์ฟ (Venus of  Villendorf) ซึ่งเน้นรูปทรงทางเพศที่แสดงร่องรอยการให้กำเนิดมาแล้วอย่างโชกโชน สูง 11 เซนติเมตร พบที่วิลเลนดอร์ฟ ประเทศออสเตรีย (ราว 25,000 -20,000 ปี BC.) นอกจากนี้ยังพบประติมากรรมเทพธิดาแห่งการให้กำเนิด  ดินเผาสูง 8 นิ้ว พบที่คาทาลคือยึค (6,500 5,700 ปี BC.  ) ประเทศตุรกีพบรูปสลักวีนัสแห่งเลส์ปุคสลักจากงาช้าง พบที่ถ้ำเลส์ปุคฝรั่งเสส (ราว 20,000 ปี BC.)  ล้วนเน้นลักษณะทางเพศและมีขนาดเล็ก
ประติมากรสมัยก่อนประวัติศาสตร์ รู้จักการออกแบบผลงานบนโครงสร้างของวัสดุอย่างเหมาะสม   เช่น รูปวัวไบซันที่ใช้เขากวางเรนเดียร์เป็นวัสดุในการสลัก โดยออกแบบวัวป่าให้ กลับหัวมาด้านหลังและสลักหัวควายไว้ส่วนกลาง ถือเป็นการแก้ปัญหาเรื่องวัสดุและรูปทรงอย่างดีเยี่ยม บ่งบอกถึงความช่างสังเกตของศิลปิน


รูปสลัก Venus  of  Villendorf ขนาด 11.5 ซ.ม.สมัยหินเก่า  30,000-25,000 BC.พบในออสเตรีย (Edward  Lucie-Smith,  1992, 20)




ภาพสลักรูปสตรีจากถ้ำ Lausel  เมืองดอรด์ญอน ฝรั่งเศส  19,000 BC. (Edward Lucie-Smith, 1992, 16)



รูปสัตว์สมัยหินเก่า  30,000-15,000 BC. บางชิ้นแกะจากกระดูก บางชิ้นแกะจากงาช้าง (Edward Lucie-Smith, 1992, 20)

ในการดำรงชีวิตนั้น มนุษย์สมัยหินเก่ารู้จักล่าสัตว์และเก็บพืชผัก ผลไม้กินเป็นอาหาร  พึ่งพาธรรมชาติ และสภาวะแวดล้อมเต็มที่   เมื่อฝูงสัตว์ทละอาหารหมดลงก็ย้ายถิ่นอาศัยติดตามฝูงสัตว์ไป มักอาศัยใกล้ทะเลหรือหนองน้ำ  เพื่อหาอาหารและใช้น้ำอุปโภคบริโภค  ถ้ำที่พวกเขาอยู่อาศัยก็มักจะเป็นถ้ำที่มีธารน้ำไหลผ่าน ได้แก่  ถ้ำในประเทศ สเปน ฝรั่งเศส และอิตาลี ถ้ำที่ชื่อเสียง คือ ถ้ำอัลตามีรา (Altamira)  ถ้ำลามาไดเลน (La Madeleine) ถ้ำลาสโคซ์ (Lascaux) ถ้ำฟองเดอโกม (Font-De-Gaume) ในสเปนกับฝรั่งเศส  
จิตรกรรมที่ถ้ำลาสโคซ์จัดอยู่ในสมัยหินกลางพบว่าเขียนภาพทั้งด้านข้างและเพดานถ้ำ  ถ้ำลาสโคซ์ตั้งอยู่ใกล้มองแตงญัก (Montingnac) บริเวณลุ่มน้ำดอร์ดอน (Dordone) ในฝรั่งเศสถูกพบโดยบังเอิญ ค.ศ. 1940  โดยเด็กชาย 2 คนไปวิ่งเล่นหน้าโพรงถ้ำ ต่อมาสุนัขได้คาบลูกบอลเข้าไปในถ้ำแล้วออกไม่ได้ เด็กทั้งสองจึงจุดไฟส่องทางตามเข้าไปพบภาพเขียน จากการกำหนดอายุโดยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ พบว่าภาพเขียนดังกล่าวมีอายุประมาณ 15,00013,000 ปีBC.            ภาพวัวไบซัน ม้า กวาง แสดงภาพด้านข้าง คำนึงถึงความจริง ท่าทางเคลื่อนไหว  มีทักษะการใช้เส้นที่กล้าหาญ  ไม่คำนึงสัดส่วนเมื่อเปรียบเทียบกับบางภาพ เช่น ภาพวัวบางตัวยาวถึง 16 ฟุต แต่ภาพม้าสูงเพียงช่วงขาของวัว เป็นต้น วาดภาพซ้อนทับกัน  สันนิษฐานว่าอาจวาดต่างช่วงเวลา มีเป้าหมายด้านความเชื่อเหนือเหตุผล
สถานที่ซึ่งปรากฏภาพเขียนสีสำคัญอีกแห่งหนึ่งของยุโรป คือถ้ำอัลตามีรา ซึ่งเป็นถ้ำหินปูนในภาคเหนือของสเปน ลึกประมาณ 300 หลา  ภาพค่อนข้างสมบูรณ์ เช่นเดียวกับถ้ำลาสโคซ์  อายุประมาณ 15.000 10,000 ปี BC. โดดเด่นด้านทักษะการเขียนภาพเคลื่อนไหวของม้าป่า                     ลีลาสมจริง แสดงถึงความสามารถในการสังเกตกิริยาท่าทางของสัตว์ ศิลปินมีเทคนิคการระบายพื้น               ตัวสัตว์ด้วยสีแดง  แล้วตัดเส้นอย่างเชื่อมั่นเด็ดเดี่ยว 
ลักษณะของภาพเขียนสีที่ถ้ำอัลตามีรา  เขียนเป็นภาพกวาง ม้า วัวไบซัน ทั้งภาพเดี่ยวและฝูง จำนวน 25 ภาพ  แต่ละภาพมีขนาดใกล้เคียงขนาดสัตว์จริงในธรรมชาติ ภาพส่วนใหญ่วาดบนเพดานถ้ำได้รับการยกย่องว่าเป็นเลิศทั้งด้านสุนทรียภาพและกลวิธีการเขียนและถูกยกย่องว่าเป็นตัวอย่างผลงานจิตรกรรมของศิลปินถ้ำเสมอ

 

ภาพเขียนสีสมัยหินกลางในถ้ำลาสโค  ประเทศฝรั่งเศส  16,000-10,000 BC. (Edward  Lucie-Smith,  1992, 19)


สมัยหินใหม่  มนุษย์พัฒนามาจากผู้ที่เคยดำรงชีวิตให้กลมกลืนกับธรรมชาติ                 ในสังคมนายพรานล่าสัตว์และเร่ร่อน   สู่ก้าวใหม่สังคมเกษตรกรรม เพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์           ตั้งบ้านเรือนอยู่เป็นชุมชน สมัยหินใหม่ตอนต้น มีการสร้างกระท่อมดินดิบมุงด้วยใบไม้ สร้างเรือโดยเอาท่อนซุงผูกเป็นเรือแคนู  บางหมู่บ้านรู้จักปลูกข้าวสาลีและข้าวบาเลย์ รู้จักทำธนูและลูกศร  เลี้ยงสุนัข  ใช้หินเหล็กไฟที่ขัดจนบางเรียบ  ใช้เครื่องมือหินขัดล่าสัตว์  ป้องกันตัว และทำเครื่องมือ เครื่องใช้ต่างๆ  ใช้ไฟปิ้งและอบอาหาร  ทำภาชนะดินเหนียวและภาชนะดินเผาสำหรับใส่อาหาร
เครื่องปั้นดินเผาประเภทเครื่องประดับในแคว้นบริตานีของฝรั่งเศส ไอร์แลนด์และอังกฤษ ผลงานจิตรกรรมไม่เด่นชัด ศิลปะโดดเด่นที่สุดของยุคหินใหม่ คือ อนุสาวรีย์หิน (Megalithic) ซึ่งนำเอาหินขนาดใหญ่มาตั้ง จัดวางลักษณะต่างๆ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มคือ แบบหินตั้งกับแบบโต๊ะหิน  และสามารถแยกย่อยตามลักษณะการตั้งวางได้ด้วย


หินตั้งเดี่ยว (Menhir or Standing Stone) เป็นแท่งหินตั้งอย่างโดดเดี่ยว  เมนเฮอร์ที่สูงและใหญ่ที่สุดอยู่ที่ลอคมารีเก ฝรั่งเศสสูง 64 ฟุต
หินตั้งเป็นแกนยาว (Alignment) เป็นการตั้งหินเป็นแนวฉากกับพื้นและตั้งเป็นแถวยาวหลายก้อน  บางแห่งมีหินตั้งกว่าพันแท่ง เรียงรายกว่า 2 ไมล์
หินตั้งเป็นวงกลม (Cromlech or Stonehenge) เป็นการนำหินมาตั้งเป็นวงกลมใหญ่ที่สุดอยู่ที่แอฟบิวรี่ในอังกฤษมีเส้นผ่าศูนย์กลางกว้าง 6 ไมล์ ส่วนสโตนเฮนจ์ที่ทุ่งราบแซลิสเบอรี (Stonehenge of Salisbury Plain) มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 100เมตร กำหนดอายุได้ 2,100- 2,000 BC. ประกอบด้วย แนวหินวงรอบนอก 30 ก้อน วงรอบกลาง 23 ก้อนและรอบแท่นตรงกลาง 10 ก้อน
โต๊ะหิน (Dolmen) เป็นแท่งหินขนาดใหญ่ 3 แท่งหรือมากกกว่านั้นวางพาดทับอยู่ด้วยกันคล้ายโต๊ะยักษ์ หรือประตูที่คนสามารถเดินลอดผ่านได้ พบทั่วไปทั้งในยุโรปและอาฟริกา



Stonehenge  of  Salisbury  Plain  England
2,100-2,000 BC. (Edward Lucie-Smith, 1992, 25)

นอกจากนี้ในสมัยใหม่ที่ถ้ำเรมเซีย (Remesiaเมืองคัสเตเลียน ประเทศสเปน ยังพบภาพเขียนสีอายุ 2,000 BC.  เป็นภาพนายพรานสี่คนเต้นรำตามหลังหัวหน้าในพิธีบวงสรวงด้วย




ภาพเขียนสีจากถ้ำ Remesia  เมืองคัสติลเลียน  สเปน  2,000 BC. สมัยหินใหม่(Edward Lucie-Smith, 1992, 27)

แบบฝึกหัดบทที่ 1


1.  ข้อใด ไม่ ถูกต้อง
ก. มนุษย์สร้างงานศิลปะได้เพราะรู้จักคิด
ข. สิ่งที่ทำให้มนุษย์เจริญกว่าสัตว์คือ ปัญญาและความคิด
ค. มนุษย์ไม่ต่างจากสัตว์ในแง่ของอารมณ์และความรู้สึกทางธรรมชาติ
ง. มนุษย์สร้างสรรค์อาวุธ  เครื่องมือ ความเชื่อและความงามขึ้นเพื่อตอบสนองการดำเนินชีวิต
2.  การที่สังคมมีความซับซ้อนและมีความเจริญทางวัตถุเกิดจากปัจจัยสำคัญในข้อใด
ก. ภาษา                                                    ข. ศาสนา
ค. เครื่องมือ                                               ง. สัญชาตญาณ
3.  ข้อใดถูกต้องที่สุดเมื่อกล่าวถึงการศึกษางานศิลปะสมัยก่อนประวัติศาสตร์ในโลกตะวันตก
ก. เทวรูปกรีก                                             ข. จารึกในวิหารโรมัน
ค. อักษรคูนิฟอร์ม                                        ง. ภาพเขียนสีถ้ำลาสโคซ์
4. คำว่ามนุษย์ผู้ถนัดในการใช้มือตรงกับข้อใดมากที่สุด
ก. โฮโมฮาบิลิส                                             ข. โฮโมเซเปียนส์
ค. โฮโมอิเรคตัส                                                     ง. ออสตราโลพิเธคัส
5. ข้อใดเป็นมนุษย์สมัยก่อนประวัติศาสตร์กลุ่มหนึ่งในยุโรปซึ่งทิ้งผลงานศิลปะไว้มากมายในถ้ำต่างๆ
. นีแอนเดอธัล                                                             ข. โครมันยอง 
. โอลดูเวย์  จอร์จ                                         ง. เบจิงแมนเอนสีส
6.  ข้อใด มิใช่ แหล่งโบราณคดีซึ่งพบหลักฐานภาพเขียนสีสมัยหินเก่าอายุประมาณ 30,000 - 25,000 BC.ในยุโรป
. อัลตามีรา                                                ข. ลาสโคซ์ 
.โอลดูเวย์                                                          ง. ลา  มาไดเลน
7.  ข้อใดเป็นศิลปะถ้ำซึ่งพบโดยบังเอิญจากการเล่นซุกซนของเด็กสองคนเมื่อค..1940
. อัลตามีรา                                                       . ลาสโคซ์
.โอลดูเวย์                                                    . ลา  มาไดเลน
8.  ภาพเขียนสีในถ้ำอะไรมักถูกยกเป็นตัวอย่างของจิตรกรรมสมัยก่อนประวัติศาสตร์เสมอ
. อัลตามีรา                                                     . ลาสโคซ 
.โอลดูเวย์                                                 ง. ลา  มาไดเลน
9.  ข้อใด ไม่ ถูกต้อง
ก.  ประติมากรรมเทพธิดาแห่งการให้กำเนิดคาทาลคือยึค
ข.  วีนัสแห่งเลส์ปุคสลักจากงาช้างพบที่ถ้ำเลส์ปุคฝรั่งเศส
ค.  ประติมากรรมสลักหินรูปวีนัสแห่งวิลเลนดอร์ฟพบที่ออสเตรีย
ง. งานประติมากรรมรูปคนสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มักมีขนาดใหญ่
10. Menhir or Standing Stone เป็นอนุสาวรีย์หินแบบใด
ก. โต๊ะหิน                                                   ข. หินตั้งเดี่ยว
ค. หินตั้งเป็นวงกลม                                       ง. หินตั้งเป็นแกนยาว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น