วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บทที่ 9 ลัทธิหลังสมัยใหม่นิยม (Post-modernism) และศิลปะตะวันตกครึ่งหลังคริสต์ศตวรรษที่ 20 ถึงปัจจุบัน



โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

ความหมายของลัทธิหลังสมัยใหม่นิยม (Post-modernism)
คำว่าหลังสมัยใหม่นิยม (Post-modernism) รากฏขึ้นครั้งแรกในงานเขียนชื่อ “Architecture and the Spirit of Man ของ โจเซ็พ ฮัดนอท (Joseph Hudnot) ในปีค.ศ.1949 อีก 20 ปีต่อมา ชาร์ลส์ เจนส์ (Charles Jencks) ได้ช่วยทำให้คำดังกล่าวแพร่หลายออกไป จนกระทั่งในปลายคริสต์ทศวรรษ1970s นักวิจารณ์ศิลปะเริ่มใช้คำๆนี้บ่อยขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นปกติ ขณะนั้นคำว่า โพสต์-โมเดิร์น ยังคลุมเครืออยู่มาก แต่โดยมากแล้วบ่งบอกถึงการต่อต้านลัทธิสมัยใหม่ (Modernism)
การเปลี่ยนจากลัทธิสมัยใหม่ไปสู่ลัทธิหลังสมัยใหม่บ่งบอกถึงสำนึกตอบรับการเปลี่ยนแปลงในสังคมและระเบียบใหม่ทางเศรษฐกิจที่บรรษัทข้ามชาติขนาดใหญ่เข้ามาควบคุมวิถีชีวิตด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อมวลชนที่ทรงพลัง ทำให้เขตแดนของประเทศชาติหมดความหมายในแง่ของการถ่ายเททางข่าวสารข้อมูล อิทธิพลทางศิลปะและวัฒนธรรม เช่น ภาพงานศิลปะในนิตยสารศิลปะที่สามารถเข้าถึงคนอ่านระดับนานาชาติได้อย่างรวดเร็ว
ลัทธิทุนนิยมในยุคหลังสมัยใหม่และหลังอุตสาหกรรมทำให้ผู้บริโภคเกิดวิสัยทัศน์ใหม่ต่อประเด็นต่างๆในโลก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องพรมแดนของโลกตะวันออกและตะวันตกที่ถูกกำหนดขึ้นหลังสงครามโลก ครั้งที่ 2 และเรื่องการปฏิวัติในด้านสิ่งแวดล้อมโลก ที่เริ่มขึ้นระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้การเส้นแบ่งแยกระหว่างลัทธิ สมัยใหม่กับ หลังสมัยใหม่ชัดเจนขึ้น
หลังสมัยใหม่เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความเสื่อมศรัทธาใน ความเป็นสมัยใหม่หรือความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หลังสมัยใหม่ไม่ได้ปฏิเสธเทคโนโลยีอย่างสุดขั้ว แต่ต่อต้าน ความเจริญหรือ ความก้าวหน้าแบบลัทธิสมัยใหม่ที่ไม่สนใจผลกระทบที่รุนแรงต่อธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ความคิดเกี่ยวกับลัทธิ สมัยใหม่ต้องการขับเคลื่อนสังคมให้ก้าวไปสู่ความเป็นสังคมยุคอุตสาหกรรม แต่ หลังสมัยใหม่มีความปรารถนาที่จะก้าวไปสู่ยุคอิเลกโทรนิคมากกว่า              หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 การทำงานศิลปะสมัยใหม่และทฤษฎีศิลปะต้องอยู่ในกฏเกณฑ์มากขึ้น มีกรอบที่ชัดเจนและแคบลงเกือบจะเหลือแค่ ศิลปะกระแสหลักที่เป็นแนวนามธรรมกระแสเดียว จากแนวคิดและรูปแบบของศิลปะลัทธิมินิมอลลิสม์ (Minimalism) ที่ทำให้ศิลปินในช่วงนั้นกลับไปสู่ความเรียบง่ายอย่างถึงที่สุดทำให้รูปทรงถูกลดทอนจนแทบไม่เหลือเค้าเดิม
ศิลปะแบบหลังสมัยใหม่เริ่มต้นขึ้นจากศิลปะป็อบ อาร์ต (Pop Art)  คอนเซ็ปชวล อาร์ต (Conceptual Art) และ เฟมินิสต์ อาร์ต (Feminist art) อันเป็นนวัตกรรมของศิลปินในยุคคริสต์ทศวรรษ 1960s และ 1970s โดยพวกหลังสมัยใหม่ได้รื้อฟื้นรูปแบบ ประเด็น สาระ หรือเนื้อหาหลายอย่างที่พวกสมัยใหม่เคยดูหมิ่นและรังเกียจที่จะเข้าไปเกี่ยวข้อง โรเบิร์ต เวนทูรี (Robert Venturi) สถาปนิกในยุค 1960s เสนอความเห็นในงานเขียนชื่อ Complexity and Contradiction in Architecture(ค.ศ.1966) ว่า หลังสมัยใหม่ คือ ปัจจัยที่เป็นลูกผสมแทนที่จะบริสุทธิ์ หลังสมัยใหม่ คือ การประนีประนอมแทนที่จะสะอาดหมดจด หลังสมัยใหม่ คือ ความคลุมเครือแทนที่จะเป็นความชัดเจน หลังสมัยใหม่ คือ ความวิปริตพอๆกับความน่าสนใจ
กระแสลัทธิหลังสมัยใหม่ทำให้ศิลปะแนวคิดนี้หันกลับไปหาแนวทางดั้งเดิมบางอย่างที่พวกสมัยใหม่แนวนามธรรมปฏิเสธ เช่น การเขียนรูปทิวทัศน์และรูปเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ และยังใช้วิธีการฉกฉวยเอารูปลักษณ์ต่างๆ จากสื่อและประวัติศาสตร์ศิลป์ มานำเสนอใหม่ในบริบทที่เปลี่ยนไปบ้าง ในเชิงวิพากษ์วิจารณ์บ้าง หรือเสียดสีบ้าง เป็นต้น
ในแวดวงทฤษฎีทางศิลปะ  พวกหลังสมัยใหม่ได้ยกเลิกการแบ่งแยกศาสตร์ต่างๆ เช่น การแบ่งศิลปะวิจารณ์ สังคมวิทยา มานุษยวิทยา และสื่อสารมวลชนออกจากกัน โดยการนำเอาศาสตร์เหล่านั้นมาผสมร่วมกัน แล้วนำเสนอเป็นทฤษฎีหลังสมัยใหม่ เช่น งานทางความคิดของ              มิเชล ฟูโค (Michel Foucault) ฌอง โบดริยารด์ (Jean Baudrillard) และ เฟรดริค เจมสัน (Fredric Jameson) เป็นต้น (ที่มา www.designer.in.th)

ศิลปะป็อป อาร์ต (Pop Art)
เกิดในสหรัฐอเมริกาและอังกฤษประมาณ ค..1955 มีพลวัตทางศิลปะประมาณ 10 ปีเศษ ในสังคมบริโภคนิยมเชื่อว่าศิลปะจะต้องสร้างความตื่นเต้นอย่างแบบฉับพลันทันใดแก่ผู้พบเห็น  เนื้อหาศิลปะของป็อปอาร์ต จึงเกี่ยวข้องกับผู้คนในสังคมปัจจุบัน ที่กำลังได้รับความสนใจหรือวิพากษ์วิจารณ์มิใช่เทพนิยาย ประวัติศาสตร์ หรือศาสนา

ศิลปินป็อปอาร์ตใช้วัสดุจริง การปะติด และกลวิธีดังเช่นศิลปินกลุ่มดาดา คิวบิสม์ เซอร์-เรียลิสม์ และแอ็บสแตร็ก เอ็กเพรสชันนิสม์ปฏิบัติกัน เป็นการใช้กลวิธีการทางศิลปะที่หลากหลาย ขึ้นอยู่กับความสนใจของแต่ละคนบางคนสนใจภาพโฆษณา บางคนสนใจดาราภาพยนตร์บางคนสนใจเครื่องจักรกลบางคนสนใจเครื่องนุ่งห่ม ก็มักจะนำสิ่งต่างๆ ที่ตนสนใจมาจัดวางตำแหน่งอย่างง่ายๆ
ป็อปอาร์ต เป็นแบบอย่างของศิลปะที่สะท้อนพลังสภาพแท้จริงของสังคมปัจจุบัน ตามความรู้ความเข้าใจของสามัญชนทั่วไป ชั่วขณะหนึ่ง เวลาหนึ่ง  เช่น ดารายอดนิยม ดาราภาพยนตร์ คุณภาพอันเลอเลิศของสินค้า คำขวัญ ฯลฯ  เป็นศิลปะที่แสดงเกี่ยวกับความชุลมุนวุ่นวายของสังคม ซึ่งพุ่งประดุจพลุ นิยมกันอย่างมากในวันนี้

ศิลปินป็อปอาร์ต
รอย ลิชแทนสเตน (Roy Lichtenstein) จิตรกรอเมริกันซึ่งให้คำนิยามศิลปะ           ป๊อปอาร์ตว่า ในความคิดของฉัน เป็นศิลปะที่ไร้ยางอายมากที่สุดแห่งวัฒนธรรมของพวกเรา” 
File:La Cara de Barcelona - 001.jpg
ภาพ The Head (1992), Barcelona.

ภาพ Roy Lichtenstein's Mural with Blue Brushstroke, in the atrium of the AXA Center, New York

(ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Roy_Lichtenstein)
           

แคลส์ โอลเดนเบอร์ก (Claes Oldenburg)
ศิลปินชาวนิวยอร์คได้นำลักษณะรูปร่างของอาหารซึ่งเป็นที่นิยมในยุคสมัยนี้ เช่น แฮม เบอร์เกอร์มาขยายขนาด และจำลองด้วยการใช้ผ้ายัดนุ่นคล้ายหมอนให้เป็นแฮมเบอร์เกอร์ยักษ์ เพื่อสร้างความเร้าใจ เร้าความรู้สึกแก่ผู้พบเห็น ผลงานชิ้นหนึ่งชื่อ  Crusoe Umbrella โดยทำร่วมกับ Coosje van Bruggen ในปีค.ศ.1979 โดยใช้วัสดุโลหะ (Cor-Ten steel) วาดสีและเคลือบด้วย โพลียูริเธน (polyurethane) แสดงที่ Nollen Plaza, Des Moines, Iowa

File:Crusoe umbrella.jpg

                        ภาพ Crusoe Umbrella
(ที่มา www.wikipedia.org)

ศิลปะอ็อป อาร์ต (Op Art)
ศิลปะ อ็อป อาร์ต เป็นศิลปะที่เรียกย่อจากชื่อ  Optical IIIusion Art ที่ใช้เรียกศิลปะแบบหนึ่งแพร่หลายในนิวยอร์คช่วงปีค..1960s และอีกหลายประเทศในยุโรปช่วงระยะเวลาเดียวกัน ศิลปะอ็อปอาร์ตเป็นศิลปะนามธรรมเน้นขอบที่คมกริบ มีการจัดวางทิศทางและลีลาของเส้น รูปร่าง หรือจุดบนพื้นระนาบให้เกิดการลวงตา
ทฤษฏีของการรับรู้ มี 3 ทฤษฏี
ทฤษฎีแสงและเงา เชื่อว่า มนุษย์มองเห็นวัตถุได้เพราะมีแสงและเงา
ทฤษฎีรูปทรงและพื้น เชื่อว่า มนุษย์มองเห็นวัตถุได้เพราะวัตถุนั้นอยู่ในพื้น เรามองเห็นทั้งรูปทรงและพื้นพร้อมกัน ซึ่งบางทีเรียกว่า ทฤษฎีสนาม
ทฤษฎีความสมดุลและการขัดแย้ง เชื่อว่า มนุษย์มองเห็นวัตถุได้ เพราะมีความสมดุลในวัตถุนั้น และมีการขัดแย้งหรือตัดกันของค่าน้ำหนักต่างๆ  ถ้าไม่มีการตัดกันของน้ำหนักแล้ว  จะไม่สามารถมองเห็นอะไร  ทำให้ทุกอย่างแลคล้ายหมอกควัน

ไม่มีทฤษฎีใดสามารถจำแนกองค์ประกอบของการมองเห็นได้ว่า องค์ประกอบใดสำคัญที่สุดและเมื่อยังไม่มีการสรุปว่า ตาหรือสมองสำคัญกว่ากันศิลปินอ็อปอาร์ตจึงเลือกเอาตามความเชื่อศิลปะของตนว่าตามีความสำคัญมากกว่าโดยเน้นการเห็นด้วยตาเป็นข้อสมมติฐานที่สำคัญในการแสดงออกทางศิลปกรรม


File:Riley, Movement in Squares.jpg

Movement in Squares, by Bridget Riley, 1961
(ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Op_Art)

ศิลปินอ็อปอาร์ต
โจเซฟ  อัลเบอร์ส  (Josef Albers)
โจเซฟ อัลเบอร์ส เชื้อสายเยอรมัน ศึกษาศิลปะเบื้องต้นที่มิวนิค แล้วศึกษาต่อที่สถาบันเบาเฮาส์ และเป็นอาจารยสอนที่เบาเฮาส์จนถูกฮิตเลอร์สั่งปิดสถาบันในค..1933  จึงอพยพไปอยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา และสอนศิลปะตามสถาบันต่าง  ผลงานเด่นคือการสร้างภาพ perspective บนพื้นระนาบ ให้เกิดการลวงตา ซึ่งเป็นแรงบันดาลใจ และจุดกำเนิดรวมทั้งใหมีอิทธิพลอย่างสูงต่อศิลปินอ็อปอาร์ตในระยะต่อมา

File:'Proto-Form (B)', oil on fiberboard work by Joseph Albers, 1938, Hirshhorn Museum and Sculpture Garden.jpg


Josef Albers, Proto-Form (B), oil on fiberboard, 1938, Hirshhorn Museum and Sculpture Garden.
(ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Josef_Albers)

วิคเตอร์ วาซาร์ลี (Victor Vasarely)
ชาวฮังการี เริ่มต้นด้วยการเรียนแพทย์ แต่เขาได้หันเปลี่ยนมาศึกษาศิลปะที่สถาบันศิลปะฮังการี แล้วเดินทางเข้าสู่ฝรั่งเศสเพื่อแสวงหาประสบการณ์และความสำเร็จ ตามแนวทางของศิลปินยุโรป โดยไม่มองว่าเป็นภาพพิมพ์ จิตรกรรมหรือประติมากรรม แต่มองเป็นผลงาน 2 มิติ รือ 3 มิติแทนเพราะเป็นการมองด้วยการรับรู้ทางการเห็น  เพราะว่า Visual Art จะต้องให้ความสำคัญด้วยการมองเห็นก่อนสิ่งอื่น

File:Hungary pecs - vasarely0.jpg
An optical illusion by Hungarian-born artist Victor Vasarely
(ที่มาhttp://en.wikipedia.org/wiki/Op_art)

ศิลปะไคเนติก  (Kinetic Art)
คำว่า ไคเนติก เป็นศัพท์ทางฟิสิกส์เกี่ยวกับความเคลื่อนไหว ในทางศิลปะ กาโบ(Naum Gabo) นำมาเรียกลักษณะการเคลื่อนไหว หรือท่วงทำนองการเคลื่อนไหวในประติมากรรมเหล็ก ที่ทำให้เกิดความเคลื่อนไหวด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า และเรียกว่า “Kinetic Sculpture” และเรียกชุดผลงานว่า “Kinetic Rhythms” ศิลปินหลายคนได้นำเอาลักษณะแห่งความเคลื่อนไหวมาผนวกไว้กับผลงานให้มีความเคลื่อนไหวตามแนวทางประติมากรรมชุด “Kinetic Rhythms” ของกาโบ ศิลปินกลุ่มนี้ที่โดดเด่น คือ ดูชัมป์   ศิลปะไคเนติกยังรวมถึงการก่อให้เกิดความเคลื่อนไหวด้วยลีลาต่างๆ ได้แก่
1. เคลื่อนไหวโดยการลวงสายตา จากการใช้ทัศนาธาตุในผลงานที่อยู่นิ่งให้เกิดการลวงตาสั่นพร่า และเคลื่อนไหวทางความรู้สึก ในเกณฑ์นี้หมายถึงงานศิลปะแบบอ็อปอาร์ต ด้วย
2. เคลื่อนไหวโดยสภาพแวดล้อม ผลงานศิลปะแบบนี้  จะตั้งอยู่ที่กับที่เช่นเดิมและวัสดุอุปกรณ์ที่ติดตั้งอยู่กับผลงาน จะสะท้อนหรือเปลี่ยนแปลงไปขณะที่ผู้ชมเดินผ่าน นอกจากนี้ผู้ชมยังสามารถสัมผัสแตะต้องหรือแกว่งไหวให้ผลงานเคลื่อนไหวจริงๆ เป็นต้น
3. ผลงานที่เคลื่อนไหวได้เอง รวมไปถึงผลงานลักษณะรูปแบบที่เรียกว่า Mobile  Art.

 ศิลปินที่สร้างไคเนติก อาร์ต ต้องการให้ผู้ชมรับรู้สิ่งแปลกใหม่ต่างจากผลงานที่หยุดนิ่งแบบ 2 มิติ หรือ 3 มิติ   มีผู้เรียกไคเนติก อาร์ตว่า  เป็นผลงานในมิติที่ 4 คือ มีมิติของความเร็วและการเคลื่อนไหวเข้ามาเกี่ยวข้อง   ผู้ชมมักจะมีความรู้สึกประหลาดใจ ในความแปลกใหม่ของนวัตกรรมต่าง ๆ ที่ศิลปินนำมาใช้สร้างผลงานให้เกิดความเคลื่อนไหว รวมทั้งรู้สึกได้ในสิ่งที่คาดไม่ถึงด้วย เพราะไม่คิดมาก่อนว่าจะพบผลงานในลักษณะนี้ ทั้งที่ในชีวิตจริงแล้ว มนุษย์จะสัมผัสปรากฏการณ์แห่งการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ
ไคเนติก อาร์ต เป็นงานศิลปะที่อยู่บนฐานคิดและความเชื่อทางศิลปะที่ว่า แสงเงา และความเคลื่อนไหวสามารถสร้างงานศิลปะได้วัตถุต่างๆ อาจจะทำให้เกิดความหมุนวน และสร้างรูปแบบอันน่าสนใจจากแสงและเงา ไคเนติก อาร์ตเป็นการรวบรวมเอาชิ้นวัตถุที่เคลื่อนไหว เช่น แผ่นกระจก โลหะหรือวัสดุสังเคราะห์อื่นๆ เข้าด้วยกันเป็นองค์ประกอบ พร้อมด้วยการเปลี่ยนแปลงของแสง เพื่อสร้างแสงเงาและแสงสะท้อนขึ้น

ศิลปินไคเนติก อาร์ต
อเล็กซานเดอร์ คัลเดอร์ (Alexander Calder)
ประติมากรชาวอเมริกัน บุกเบิกงานศิลปะโมไบล์ (Mobile Art) จนได้รับการยอมรับ เขาศึกษาทางด้านวิศวกรรมการเชื่อมโลหะและวิชากลศาสตร์ เมื่อเปิดการแสดงผลงานไมโบล์ครั้งแรกก็ได้รับความสำเร็จทั้งทางด้านชื่อเสียงและเงินทองอย่างรวดเร็ว
จุดประสงค์ของคัลเดอร์คือ การนำเสนอความสุขและความสนุกสนานในรูปทรงและวัสดุ
เปิดแนวทางใหม่ด้านประติมากรรม ซึ่งเคยยึดถือกันมานานแล้วว่า  ต้องให้ความรู้สึกมั่นคงตรึงติดแน่นอยู่กับที่ มีปริมาตรอันกลมกลืน ฯลฯ โดยนำผลการคิดค้นเรื่องอวกาศและจักรวาลของนักวิทยาศาสตร์มาสร้างเป็นความงามในงานประติมากรรม ที่เคลื่อนไหวได้

File:Alexander Calder Crinkly avec disc Rouge 1973-1.jpg


Crinkly avec disc rouge (1973), Schlossplatz in Stuttgart, Germany
(ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Alexander_Calder)

คอนเซปชวล อาร์ต (Conceptual Art)
Conceptual เป็นคำคุณศัพท์ มีความหมายแปลเป็นภาษาไทยว่า เกี่ยวกับความคิด เกี่ยวกับการสร้างความคิด”   Concept มีผู้แปลเป็นภาษาไทยหลายคำ เช่น สังกัป” “มโนทัศน์และมโนภาพ”  ชาวไทยนิยมเรียกว่า คอนเซปท์ แทนคำแปลภาษาไทย ตรงกับคำว่า                      “มโนทัศน์เรียก Conceptual Art ว่า ศิลปะมโนทัศน์ หรือ มโนทัศน์ศิลป์

ศิลปินคอนเซปชวลอาร์ต
คริสโต (Christo Vladimirov Javacheff)
เป็นศิลปินชาวบัลกาเรีย เกิดที่กาโบร์โว  เข้าไปฝรั่งเศศค..1958 และเดินทางสร้างผลงานทั่วโลกผลงานที่สร้างชื่อเสียง Umbrellas (Japan) Wrapped Coast อยู่ที่ลิตเติลเบย์  ประเทศออสเตรเลีย (ค..1969) ใช้วัสดุคลุมพื้นที่ 1 ล้านตารางฟุต  ผูกยึดด้วยเชือก เป็นผลงานขนาดใหญ่โตมาก รัฐบาลออสเตรเลีย ทุ่มเงินและได้ผลคุ้มค่าจากนักท่องเที่ยวสนใจเดินทางมาชมจำนวนมากเช่นกัน
File:Umbrella Project1991 10 27.jpg
Umbrellas 1991 (Japan)
(ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Christo_and_Jeanne-Claude)


เขื่อนขดก้นหอย(Spiral Jetty), George Steinmetz September 2002
(ที่มา http://www.google.co.th/imgres?)

แบบฝึกหัดบทที่ 9

1. ศิลปะป็อบอาร์ตมีลักษณะอย่างไร
ตอบ________________________________________________________________________________
2. ศิลปินชาวนิวยอร์คที่นำลักษณะรูปร่างของอาหารซึ่งเป็นที่นิยมในยุคสมัยนี้ เช่น แฮม เบอร์เกอร์มาขยายขนาด และจำลองด้วยการใช้ผ้ายัดนุ่นคล้ายหมอนให้เป็นแฮมเบอร์เกอร์ยักษ์ เพื่อสร้างความเร้าใจ เร้าความรู้สึกแก่ผู้พบเห็นคือใคร
ตอบ________________________________________________________________
3. จิตรกรอเมริกันที่กล่าวถึงศิลปะป็อปอาร์ตว่า ในความคิดของฉัน เป็นศิลปะที่ไร้ยางอายมากที่สุดแห่งวัฒนธรรมของพวกเรา “  คือใคร
ตอบ________________________________________________________________
4. ศิลปะอ็อปอาร์ตมีรูปแบบอย่างไร
ตอบ____________________________________________________________________________________________________________________
5. Kinetic Art หมายถึงอะไร
ตอบ____________________________________________________________________________________________________________________

6. ผลงาน ชื่อ  หน้าผาที่ถูกห่อหรือ WRAPPED COAST ในศิลปะแบบConceptual Art สร้างสรรค์โดยศิลปินชื่ออะไร
ตอบ ________________________________________________________________
7. สร้างสรรค์ทางศิลปะ ชื่อ เขื่อนขดก้นหอยเป็นผลงานของใคร
ตอบ________________________________________________________________

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น