วันอังคารที่ 12 มิถุนายน พ.ศ. 2555

บทที่ 8 ศิลปะตะวันตกยุคหลังลัทธิอิมเพรสชันนิสม์...



  บทที่ 8 ศิลปะตะวันตกยุคหลังลัทธิอิมเพรสชันนิสม์ถึงหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

โดย พิทยะ ศรีวัฒนสาร

อาร์ต นูโว (ศิลปะใหม่-Art Nouveu)
อาร์ตนูโว (Art Nouveau-ศิลปะใหม่) หรือ ยูเกนด์ชติล (Jugendstil-สไตล์                  วัยเยาว์) เป็นลักษณะศิลปะ สถาปัตยกรรมและศิลปะประยุกต์ ซึ่งได้รับความนิยมสูงสุดในช่วง           ค.ศ. 1890 ถึง 1905 โดยมีจุดเด่น คือ ใช้รูปแบบธรรมชาติ โดยเฉพาะดอกไม้และพืชอื่นๆ มาทำเป็นลวดลายเส้นโค้งที่อ่อนช้อย  ลักษณะรูปแบบจะเป็นการลดทอนรูปแบบจากรุกขชาติ แมลงและเปลือกหอย ใบไม้ เถาวัลย์ ตามธรรมชาติ นำมาประดิษฐ์เป็นลวดลายประดับทั้งภายในภายนอก อาคารตลอดจนเครื่องใช้ ของประดับบ้านและเครื่องแต่งกายทำให้อาร์ตนูโว เป็นรูปแบบที่นำกลับมาใช้ตกแต่งเสมอๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายในอาคารพาณิชย์ เช่น ร้านอาหารฝรั่งเศส ร้านขายเสื้อผ้าสตรี และกิจการเกี่ยวกับความงามอื่น ๆ โดยแรงบันดาลใจจากรูปทรง คือ สีจากธรรมชาติ ของฤดูใบไม้ร่วง ได้แก่ สีจากฤดูกาล เช่น สีโทนส้มและน้ำตาล สีจากพืชพันธุ์ต่างๆ เช่น สีเขียวเข้ม สีเขียวตอง และ สีของดอกไม้ เช่น สีขาวนวลดอกมะลิ สีม่วงดอกไอริส สีแดงดอกป๊อบบี้ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการหาวัสดุและแร่ธาตุจากธรรมชาติ ได้แก่ งาช้าง เงิน ทองแดง นำมาใช้ด้วย (ศุภชัย  สิงห์ยะบุศย์. 2547)
โถงบันไดในบ้านของ Victor Horta เป็นตัวอย่างของศิลปะแนวอาร์ตนูโวที่ชัดเจนแห่งหนึ่ง (www.wikipedia.org/wiki/Art Nouveau)
art nouveau cartoons, art nouveau cartoon, art nouveau picture, art nouveau pictures, art nouveau image, art nouveau images, art nouveau illustration, art nouveau illustrations
Art Nouveau Cartoons
(ที่มาhttp://www.cartoonstock.com/vintage/directory/a/art_nouveau.)



ศิลปะลัทธิโฟวิสม์ (Fauvism)
Fauvism” มาจากภาษาฝรั่งเศสคำว่า “Les Fauves” แปลว่า สัตว์ป่า” ศิลปะ ลัทธิโฟวิสม์ จึงหมายถึง ลัทธิสัตว์ป่า อันเป็นคำเปรียบเปรยรูปแบบศิลปะเมื่อเปรียบเทียบระหว่างผลงานของศิลปินสมัยเรอแนสซองส์ที่งามตามหลักสุนทรียภาพเดิมกับผลงานของกลุ่มศิลปินที่ให้สีสันโฉ่งฉ่างยิ่งเพิ่มความเป็นปฏิปักษ์กันอย่างเห็นได้ชัด

ศิลปินลัทธิโฟวิสม์
มาทีสส์ (Henri Matisse)
มาทีสส์เป็นบุตรของพ่อค้าที่มีฐานะดี ซึ่งต้องการให้ลูกชายเป็นทนายความ  เป็นทนายไม่นานพออายุ 22 ปี ก็เรียนศิลปะ ที่ตนพอใจขณะใช้กิจกรรมศิลปะเป็นเครื่องขจัดเวลาว่างและความเบื่อหน่ายครั้งล้มป่วยจากนั้นก็ศึกษาศิลปะและเข้าสู่วงการอย่างจริงจัง มาทีสส์ใช้วิธีการศึกษางานทั้งด้วยการวิเคราะห์และคัดลอกผลงานของศิลปินที่ยิ่งใหญ่ในพิพิธภัณฑ์ลูฟว์ และออกไปเผชิญหน้ากับสภาพแวดล้อมจริงแล้วเขียนออกมา  ผลงานช่วงแรกๆ ของมาทีสส์เป็นแบบอิมเพรสชันนิสม์ ผลงานทีสำคัญของมาทีสส์คือ ภาพ ภาพเปลือยกับลวดลายเบื้องหลัง”   และ ห้องสีแดง
มาทีสส์แสดงความชัดเจน ด้านกระบวนคิดเชิงศิลปะแบบโฟวิสม์ผ่านงานประติมากรรมด้วยและเป็นที่ยอมรับทั่วไป   ส่งผลต่อวงการประติมากรรมสมัยใหม่เป็นอย่างมาก  รูปแบบประติมากรรมของมาทีสส์ไม่แตกต่างจากจิตรกรรมของเขาคือ มิได้เน้นรายละเอียดใดๆ

File:Matisse - Green Line.jpeg

Henri Matisse, Portrait of Madame Matisse (The green line), 1905, Statens Museum for Kunst, Copenhagen, Denmark

File:Matisse Souvenir de Biskra.jpg

Henri Matisse, Blue Nude (Souvenir de Biskr), 1907,
Baltimore Museum of Art
ศิลปะลัทธิเอ็กเพรสชันนิสม์ (Expressionism Art)
คำว่า “Expressionism” มาจากภาษาละตินว่า“Expressare” “Ex”มีความหมายว่า ออกมา ส่วน “pressare” มีความหมายเท่ากับกด ดัน คั้น บีบ (ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์. 2547) ในทางวิชาการ  ศิลปะเอ็กซเพรสชันนิสม์ หมายถึง การแสดงออกทางศิลปะ ที่รู้จักตัดทอนรูปทรงและสีสันอย่างเสรีที่สุดตามแรงปรารถนาของศิลปิน   แรงปรารถนาดังกล่าว คือ ความรู้สึกและอารมณ์ของศิลปิน  ศิลปะลัทธิเอกเพรสชันนิสม์ขยายตัวครอบคลุมไปถึงงานศิลปะสาขาอื่นด้วย เช่น วรรณกรรม ดนตรี และศิลปะการแสดงอย่างกว้างขวางปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20    
ผลงานของศิลปินลัทธิเอกเพรสชันนิสม์   ก่อความเร้าใจและเป็นแรงบันดาลใจให้กับศิลปินหัวก้าวหน้าทั้งหลายในยุโรป  ขณะเดียวกันก็สร้างความไม่พอใจให้กับนักอนุรักษ์นิยมไม่น้อย ความเคลื่อนไหวของศิลปะเอกเพรสชันนิสมที่สำคัญและน่าสนใจ มี 2 กลุ่ม คือ ศิลปินกลุ่มสะพาน (The Bridge) กับกลุ่มม้าสีน้ำเงิน (The Blue Rider)

กลุ่มสะพาน
เป็นศิลปินที่ก่อตัวทำงานศิลปะที่วิทยาการเทคนิค มีความหมายว่า สะพานเป็นการรวมตัวกันของศิลปินวัยหนุ่มอายุเฉลี่ยประมาณ 20-30 ปี ศิลปินกลุ่มนี้พยายามสะท้อนความสับสน ความอัปลักษณ์ของสังคม เศรษฐกิจ การเมือง และศาสนา โดยเน้นแสดงออก ซึ่งความสกปรกของสังคม ความเหลวแหลกโสมม ความหลอกลวง ด้วยการใช้สีที่รุนแรง สลายตัวค..1913 จากปัญหาวิกฤตสังคมและสงครามโลกครั้งที่ 1
แนวทางการสร้างสรรค์งานของกลุ่มสะพานสะท้อนเรื่องราวทางศาสนาด้วยความรู้สึกโหดร้ายน่าขยะแขยงน่าเกลียด แสดงความรัก กามารมณ์และความตาย เพื่อเตือนให้สังคมตระหนักในความไม่แน่นอน  ประการสำคัญภาพส่วนใหญ่เน้นแสดงออกทางจิตวิทยามากกว่าแสดงความ      เป็นจริง

กลุ่มม้าสีน้ำเงิน
เริ่มเคลื่อนไหว ค..1911 ที่มิวนิค  ศิลปินต่างชาติที่เข้าร่วม ได้แก่ ชาวรัสเซียน สวิส อเมริกัน ฯลฯ  แกนนำสำคัญคือ วาสิลี แคนดินสกี (1866-1944) กับ ฟรอนซ์ มาร์ค (1880-1944ชื่อของกลุ่มลัทธิมาจากแนวนิยมในการเขียนรูปม้า และคนขี่ม้าของแกนนำทั้งสอง  โดยใช้สีน้ำเงินเป็นหลัก



ลักษณะการเขียนงานของศิลปินกลุ่มสะพานและกลุ่มม้าสีน้ำเงิน โดยภาพรวมแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย กลุ่มม้าสีน้ำเงินมีลักษณะผ่อนคลายการกระแทกความรู้สึกของผู้ชมให้เกิดความรู้สึกน่าขยะแขยงรับอิทธิพลของโกแกงมากกว่าแวนโก๊ะโดยผันเป็นการแสดงออกทางอารมณ์แบบรุนแรงที่แฝงความสนุกสนานจากการใช้สี เส้นและการแสดงลีลาคล้ายเสียงดนตรีสลายตัว ค.ศ.1914 เนื่องจากสงครามโลกครั้งที่1 (ศุภชัย  สิงห์ยะบุศย์. 2547)

ศิลปินลัทธิเอ็กเพรสชันนิสม์
เอ็ดวาร์ด มูงค์ (Edvard Munch , ..1863-1944
ผู้นำและผู้ให้อิทธิพลแก่ศิลปินกลุ่มเอ็กเพรสชันนิสม์ เกิดวันที่ 12 ธันวาคม             ค..1863 ทางภาคใต้ของนอรเวย์มูงค์เป็นเด็กขี้โรค เจ็บออดๆ แอดๆ ตลอดเวลาทำให้เรื่องราวของความเจ็บป่วย และความตายปรากฏอยู่ในผลงานของเขาเป็นอย่างมาก
ผลงานที่มีชื่อเสียงของมูงค์คือ ภาพเสียงร้องไห้หรือ The Scream ซึ่งเขียนในปี             ค..1893 เขาสามารถผสานอารมณ์ของเส้น และสีที่ปรากฏในผืนภาพให้กระตุ้นและชักนำอารมณ์ของคนชราได้เช่นเดียวกับเขาภาพเด็กป่วย หรือ The Sick Child นำอารมณ์อันเกิดจากความโศกเศร้าที่สูญเสียน้องสาว ซึ่งล้มป่วย และเสียชีวิตด้วยวัณโรค
ในช่วงท้ายของชีวิตมูงค์ การเจ็บป่วยทั้งร่างกายและจิตใจทำให้เป็นศิลปินเอ็กเพรสชันที่ได้รับยกย่องอย่างสูง ทั้งจากศิลปินและในฝรั่งเศส นอรเวย์ เยอรมนี ยกเว้นรัฐบาลนาซีที่ไม่เห็นด้วยกับแนวทางการทำงานเชิงวิพากษ์ และการเสนอรูปแบบที่ถูกมองว่าอัปลักษณ์ของศิลปินเอกเพรสชันนิสม์ จึงจัดแสดงผลงานศิลปินกลุ่มนี้แบบเสียดสีเย้ยหยัน และตั้งชื่อนิทรรศการว่า   ศิลปะอันเลวทรามในปี ค..1935 ซึ่งมีผลงานของมูงค์รวมด้วย (ศุภชัย  สิงห์ยะบุศย์. 2547)
มูงค์ถึงแก่กรรมในเดือนมกราคม ค..1944 อายุ 81 ปี รัฐบาลนอรเวย์รวบรวบผลงานกว่า 10,000 ชิ้นของมูงค์สร้างพิพิธภัณฑ์เก็บผลงานของเขา ตั้งชื่อว่า พิพิธภัณฑ์              เอ็ดวาร์ด มูงค์ณ กรุงออสโล ประเทศนอรเวย์ เพื่อเป็นเกียรติประวัติแก่ศิลปินลัทธิเอ็กเพรส           ชันนิสม์ที่ยิ่งใหญ่


File:The Scream.jpg

The Scream (1893)
(ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Edvard_Munch)


แคธี โคลล์วิทซ์ (Kathe Kollwiz , ..1867-1945)
ศิลปินหญิงชาวเยอรมัน สามีเป็นนายแพทย์ที่ให้การรักษาพยาบาลคนยากจนด้วย ความเมตตาสงสาร ส่งผลต่อความคิดเชิงเอื้ออาทรต่อสังคมผู้ยากไร้ให้กับโคลล์วิทซ์ กลายเป็นพื้นฐาน ทางเนื้อหาและรูปแบบในการสร้างสรรค์งานศิลปะของโคลล์วิทซ์ ที่ถ่ายทอดออกมาอย่างจริงใจ โคลล์วิทซ์ได้รับยกย่องเป็นศิลปินที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมชั้นล่าง  เธอใช้ผลงานศิลปะภาพวาด ภาพพิมพ์ และประติมากรรม ที่มีพลังเป็นเสียงร้องแทนความขมขื่นจากการถูกกดขี่ของผู้ยากไร้ให้สาธารณชนรับรู้อย่างมีสำนึกรับผิดชอบตลอดอายุ 78 ปี  (ศุภชัย  สิงห์ยะบุศย์. 2547)

File:Kollwitz.jpg

Woman with Dead Child, 1903 etching
(ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/K%C3%A4the_Kollwitz)



ศิลปะลัทธิคิวบิสม์ (Cubism Art)
คิวบิสม์ หรือ Cubism Art เป็นลัทธิศิลปะที่เกิดจากอิทธิพลความเจริญทางวิทยาศาสตร์ และจากรูปแบบหน้ากากของชนเผ่าพื้นเมืองในแอฟริกา ปลุกเร้าการสร้างสรรค์แบบใหม่รวมทั้งการแสวงหาลักษณะเฉพาะตัวให้กับตนเองของศิลปินสมัยใหม่
ลัทธิคิวบิสม์เชื่อว่า การแสดงออกทางศิลปะ นอกจากจะต้องไม่แสดงเชิงการถ่ายทอดตามความเป็นจริงตามตาเห็นแล้วยังจะต้องกลั่นกรองรูปทรงด้วยการวิเคราะห์และสังเคราะห์รูปทรงให้เหลือเพียงแก่นแท้ที่มั่นคงแข็งแรง ด้านอิทธิพลทางศิลปะลัทธิคิวบิสม์ได้แนวคิด และอิทธิพลการถ่ายทอดสิ่งแวดล้อมผ่านการสร้างเป็นรูปทรงที่เรียบง่ายจากผลงานของเซซานน์โดยการแทนค่าด้วยแสงสีอันระยิบระยับ ให้บรรยากาศตามช่วงเวลาเท่านั้น
ลักษณะการวางรูปทรงในผลงานของเซซานน์กลายเป็นรากแก้วของลัทธิคิวบิสม์ในระยะต่อมานักประวัติศาสตร์ศิลป์และนักวิจารณ์ศิลปะบางท่านเรียกผลงานคิวบิสม์ระยะแรกว่าแบบอย่างเซซานน์หรือ “Cezannesque” (ศุภชัย  สิงห์ยะบุศย์. 2547)






แนวทางการสร้างสรรค์ศิลปะลัทธิคิวบิสม์
1. ตัดทอน ย่อส่วน เพิ่มเติม และตกแต่ง รูปทรงของวัตถุที่ต้องการเขียน ถือหลักของส่วนประกอบเพิ่ม เพื่อให้ผลงนสมบูรณตามความคาดหวังของศิลปิน
2. คำนึงถึงการแสดงออกรูปทรงเปิดและปิด โดยพิจารณาความสัมพันธ์ของพื้นที่ว่างในส่วนรูปทรงและพื้นหรือ บวกและลบ
3. คำนึงถึงความตื้นลึกด้วยรูปทรง ขนาด การทับซ้อนกันบังคับและการทำให้โปร่งใสคล้ายภาพเอ็กซเรย์
4. เปิดโอกาสให้ผู้ดูมีเสรีภาพในการคิด ใช้ปัญญาพินิจพิจารณาด้วยตนเอง โดยถือว่าศิลปะเป็นสิ่งที่ผู้ดูสามารถชื่นชมด้วยตนเองเท่านั้น
5. คำนึงถึงความกลมกลืนของทัศนธาตุ (เส้น สี แสงเงา รูปร่าง ลักษณะผิว) เมื่อประกอบกันเป็นเรื่องราวที่รู้จักเป็นอย่างดี รูปทรงที่เด่นได้แก่รูปทรงที่เกิดจาก เส้นเว้า เส้นตรงผสานกันอย่างเหมาะสม
6. คำนึงถึงส่วนย่อยและส่วนรวมพร้อมกัน เพื่อให้เกิดความกลมกลืนพอๆ กับคำนึงถึงลักษณะผิวหน้าของวัสดุแต่ละชนิด
7. นำเอาวัสดุจริงมาปะติดกัน เพื่อให้เกิดความรู้สึกสัมผัส จนเกิดเป็นวิธีการสร้างงานศิลปะที่เรียกว่า Collage Art (ศิลปะตัดแปะ)

ศิลปินลัทธิคิวบิสม์
ปาโบล ปิคัสโซ (Pablo Picasso , ..1881-1973)
ปาโบล ปิคัสโซ เกิดที่ประเทศสเปน ในปีค..1881 บิดามีอาชีพเป็นจิตรกร ศึกษาศิลปะครั้งแรกที่เมืองบาร์เซโลนาและเดินทางเข้ามาอยู่กรุงปารีสค..1900  อยู่ที่ฝรั่งเศสจนจบชีวิตในปี ค..1973  ปคัสโซเป็นศิลปินหัวก้าวหน้าที่ได้พัฒนาผลงานของตนอย่างไม่หยุดยั้งเริ่มจากการทำงานตามแบบแผนเดิมที่มีโครงสร้างโดยใช้สีวรรณะเย็นดูเศร้าหมอง รู้จักในนามยุคสีน้ำเงิน สะท้อนชีวิตที่ยากลำบากของเขาอย่างดี ในปี ค..1905 ปิคัสโซพัฒนาผลงานสู่การใช้สีที่สดใสร้อนแรงผลงานที่มีชื่อเสียงที่สุดชิ้นหนึ่งของปิคัสโซคือภาพ เกอนีแค” (..1973) เพื่อแสดงการสนับสนุนรัฐบาลฝ่ายนิยมระบบสาธารณรัฐของสเปน (ศุภชัย  สิงห์ยะบุศย์. 2547)
File:PicassoGuernica.jpg

Guernica, 1937, Museo Reina Sofia
(ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Pablo_Picasso)
       

จอร์จ บราค (George Brac)
เกิดที่เมืองเลออาฟร์ ใกล้กรุงปารีสเรียนศิลปะเมื่อายุ 17 ปี โดยมุ่งจะเป็นมัณฑนากรมากกว่าจิตรกร แต่เมื่อได้พบกับดูฟีและฟิทซ์ศิลปินในลัทธิโฟวิสม์ ทำให้เขาหันเหสู่การสร้างสรรค์จิตรกรรมและรวมกลุ่มกับศิลปินลัทธิโฟวิสม์  บราคเป็นศิลปินที่ประสบความสำเร็จตั้งแต่อายุยังน้อย ถึงขั้นมีนักธุรกิจด้านศิลปกรรม ทำสัญญาผูกขาดการซื้องานของเขาทั้งหมด
บราคเป็นศิลปินคนสำคัญของลัทธิคิวบิสม์เท่าเทียมกับปิคัสโซ สิ้นชีวิตเมื่อปี                ค..1963 รวมอายุได้ 81 ปีผลงานชิ้นสำคัญของยอร์จ บราค มี อาทิบ้านที่เลสตัคอยู่ที่พิพิธภัณฑ์กรุงเบอร์น โต๊ะนักดนตรี”  “แท่นสีดำอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่กรุงปารีส รูปปั้น หัวม้าอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะสมัยใหม่ กรุงปารีส ฯลฯ (ศุภชัย  สิงห์ยะบุศย์. 2547)


House at l'Estaque
(ที่มาhttp://home.psu.ac.th/~punya.t/20th%20en/House%20at%20Lestaque.html)
ศิลปะลัทธินามธรรม (Abstractionism Art )
เป็นงานศิลปะที่ให้ความสำคัญเรื่องรูปแบบศิลปะหรือปรากฏการณ์ อันเกิดจากการผสานรวมตัวกันของทัศนธาตุ (ได้แก่ เส้นสี แสงเงา รูปร่าง ลักษณะผิว) โดยไม่คำนึงถึงเนื้อหาศิลปะ ศิลปะนามธรรมปรากฏครั้งแรกในกรุงปารีส เมื่อ ค..1960 ด้วยการทดลองของกลุ่มคิวบิสม์ ต่อมาแคนดินสกี จิตรกรชาวรัสเซีย ผู้มาใช้ชีวิตในเยอรมัน ได้เริ่มต้นสร้างสรรค์ผลงานแบบนามธรรมบริสุทธิ์อย่างจริงจังตั้งแต่ ค..1960 เป็นต้นมา ได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาของศิลปะนามธรรม แคนดินสกีเขียนภาพนามธรรม ด้วยการระบายสีน้ำที่ปราศจากเนื้อหาใดๆ

ศิลปะนามธรรม  จำแนกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ
1. ศิลปะนามธรรมแบบโรแมนติก
เป็นกลุ่มศิลปินผู้สร้างงานนามธรรม ที่สำแดงอารมณ์ความรู้สึกอย่างเสรี โดยส่งผ่านลักษณะรูปแบบศิลปะที่อิสระ ซึ่งศิลปินอาจมีพื้นฐานทางอารมณ์มาจากความรัก ความเศร้า ความห้าวหาญ ฯลฯ แล้วมักจะแสดงออกอย่างทันที

2. ศิลปะนามธรรมแบบคลาสสิก
เป็นการสร้างงานนามธรรมที่ผ่านการคิดไตร่ตรองการวางแผนอย่างมีระบบมีกฎเกณฑ์ โดยใช้รูปทรงเรขาคณิตควบคุมศิลปินกลุ่มนี้มี มงเครียน เป็นผู้นำทางการสร้างสรรค์ และได้ให้อิทธิพลต่อ Abstractแบบขอบคม เช่น พวก Op Art ในอเมริกา

การสร้างสรรค์งานของกลุ่มศิลปินนามธรรม
ศิลปะลัทธินามธรรมมีลักษณะการสร้างงานที่กล้าหาญ และกล้าสลายกำแพงลักษณะรูปแบบศิลปะแบบเดิม โดยสลัดเนื้อหาศิลปะทิ้งไปอย่างท้าทาย   ผลงานของพวกเขาจึงเป็นกุญแจไปสู่ความเป็นอิสระแห่งการสร้างสรรค์ของศิลปินคนอื่นๆ และเกิดกลุ่มศิลปะนามธรรมตามมาหลายกลุ่มได้แก่ กลุ่ม Suprematism กลุ่ม Constructionism กลุ่ม Neoplasticism กลุ่ม Abstract Expressionism และกลุ่ม SurealismAutomatism เป็นต้น (ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์. 2547)







ศิลปินลัทธินามธรรม
วาสสิลี แดนดินสกี (Wassili Kandinsky)
กิดที่กรุงมอสโคว์ รัสเซีย  สนใจศิลปะมาตั้งแต่เด็ก แต่เขาต้องศึกษาวิชาการด้านกฎหมายและเศรษฐศาสตร์ที่มอสโคว์   หันกลับมาสู่การสร้างสรรค์งานศิลปะที่ตนรัก อีกทั้งยังเขียนบทความทางศิลปะเผยแพร่ด้วย  ผลงานของเขาได้รับการยกย่องเป็นอย่างดี จนกระทั่งปี ค..1910  จึงวาดภาพที่เป็นศิลปะลัทธินามธรรมภาพแรก (ศุภชัย  สิงห์ยะบุศย์. 2547)
ปรัชญาศิลปะของแคนดินสกี คือ  จิตรกรรมทุกชนิดมีความสำคัญอยู่ที่สีและรูปทรง โดยศิลปะประกอบด้วย 2 สิ่ง คือ สิ่งที่อยู่ภายในกับสิ่งที่อยู่ภายนอก
1. สิ่งที่อยู่ภายใน คือ อารมณ์และความรู้สึกของศิลปิน  ความรู้สึกที่มีความสำคัญยิ่งใหญ่ต่อการปลุกเร้าความรู้สึกให้คล้ายคลึงกับกับที่มีอยู่ในผู้ชม
2. สิ่งที่อยู่ภายนอก คือผู้ชม เมื่อความรู้สึกทั้งสองคล้ายคลึงและเท่าเทียมกัน                 ย่อมหมายความว่า  งานศิลปะนั้นๆประสบความสำเร็จ  และสิ่งที่อยู่ภายใน (ความรู้สึก) ต้องมีอยู่ แม้ว่างานศิลปะนั้นจะเป็นสิ่งสมมติ สิ่งที่อยู่ภายในจะเป็นตัวกำหนดผลงานศิลปะ
แคนดินสกีอธิบายความสัมพันธ์ระหว่างศิลปินกับสีว่า มนุษย์ทุกคนเมื่อมองเห็นสีบนจานระบายสีแล้วครั้งแรก  จะเห็นเนื้อสีเรียกว่า “Purely physical object” และเกิดความรู้สึกจากสีที่เห็น  สีทุกสีมีคุณสมบัติในตัว โดยอาจให้ความรู้สึกเย็นหรือร้อน  สว่างหรือมืด  ใหญ่หรือเล็ก และให้ความรู้สึกแตกต่างจากเดิมเมื่อไปอยู่ในวงล้อมหรือแวดล้อมสีอื่น เขาสร้างสรรค์งานศิลปะนามธรรมจากรากฐานของความเชื่อดังกล่าวข้างต้น จนกลายเป็นแบบฉบับของศิลปินแนวธรรม


แคนดินสกี ภาพความปิติ ค.ศ.1913
(ที่มาhttp://www.skn.ac.th/skl/project/art/art2.htm)
แจคสัน พอลลอค (Jackson Pollock, 1912-1956)
จิตรกรลัทธินามธรรมเอ็กเพรสชันนิสม์ ที่มีชื่อเสียงและโดดเด่น  ได้รับฉายาว่าเป็นจิตรกรแบบ Action Painting คือ กลวิธีการสร้างงานจิตรกรรมโดยมิได้ป้ายสีดั่งศิลปินทั่วไป หากแต่ใช้วิธีการสาดสลัด ราดหรือแม้แต่การเหวี่ยงลงบนพื้นเฟรมด้วยลีล่าท่าทางที่ว่องไว                                เพื่อบันทึกความรู้สึกของศิลปินเอาไว้ในผืนเฟรม ด้วยสีสันจากการกระทำดังกล่าว


File:Pollock31.jpg

One: Number 31, 1950 Museum of Modern Art, New York City
(ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/File:Pollock31.jpg)



ศิลปะลัทธิฟิวเจอริสม์ (Futurism Art)
ศิลปะลัทธิฟิวเจอริสม์ เป็นผลมาจากความเชื่อทางศิลปะของศิลปินและแนวทางการสร้างงานของพวกเขา   มุ่งแสดงความรู้  เคลื่อนไหว จากบริบทของสังคมยุคเครื่องจักรกล                 ที่แพร่หลายในยุโรป จึงต้องการแสดงออกถึงลักษณะทางสังคมยุคใหม่ ตลอดจนความงามของเครื่องจักรกลที่รวดเร็วและมีพลัง (ศุภชัย  สิงห์ยะบุศย์. 2547)
ศิลปะฟิวเจอริสม์เป็นขบวนการทางศิลปะของศิลปินอิตาลีกลุ่มหนึ่ง ที่มีความเห็นขัดแย้งกับแนวทางศิลปะเชิงขนบนิยมอย่างรุนแรง   เริ่มต้นเคลื่อนไหวในปี ค..1909
คำประกาศที่ทางศิลปะ 3 ประการของพวกเขา คือ Burn  the Museum. Drain the Canal of Vanice. Let’s Kill  the Moonlight.
ศิลปะฟิวเจอริสม์มีผลงานที่แสดงชีวิตความเป็นอยู่ที่ไม่หยุดนิ่ง อันเป็นผลจากการปฏิวัติทางวิทยาศาสตร์ ศิลปินมักจะใช้เนื้อหาของงานที่เกี่ยวความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์บุคคล สัตว์ หรือวัตถุที่มีการเคลื่อนไหว เช่น วงล้อรถยนต์ มอเตอร์ไซค์ และแสงสี
ศิลปินลัทธิฟิวเจอริสม์
ศิลปินลัทธิฟิวเจอร์ริสม์เกือบทั้งหมดเป็นชาวอิตาลี บุคคลสำคัญได้แก่  บอคโซนี (Umberto Boccioni) และบาลลา (Giacomo Balla)

บอคโซนี (Umberto Boccioni)
เป็นจิตรกรและประติมากร เกิดที่เมืองเรคจิโอ แคว้นคาลาเบรีย อิตาลี ศึกษาศิลปะที่กรุงโรมเมื่ออายุได้ 17 ปี มีโอกาสเดินทางแสวงหาความรู้และประสบการณ์หลายประเทศ ทำให้เขาได้รู้และใกล้ชิดกับกวีและนักวิจารณ์ศิลปะหลายคน  โดยเฉพาะมาริเนตตี (Filippo Tommaso Emilio Marinetti) ซึ่งกลายเป็นกระบอกเสียงให้กับลัทธิฟิวเจอริสม์ และได้สัมผัสกับผลงานคิวบิสม์ของปิคัสโซและบราคด้วย ผลงานสำคัญคือ ภาพเมืองที่กำลังเติบโต เป็นภาพม้าที่วิ่งเต็มเมือง ผู้คนที่วุ่นวายสับสนท่ามกลางความเร็วและความแออัดยัดเยียด เป็นภาพที่มีความเคลื่อนไหวสั่นพร่าอยู่เบื้องหน้าอาคารสมัยใหม่ (ศุภชัย  สิงห์ยะบุศย์. 2547)

File:Umberto Boccioni 001.jpg

The City Rises, Umberto Boccioni, 1911
(ที่มาhttp://www.google.co.th/imgres?imgurl)


จิอาโคโม บอลลา (Giacomo Balla)
จิตรกรที่สำคัญที่สุดของลัทธิฟิวเจอริสม์อีกคนหนึ่ง ชาวอิตาลี เกิดเมื่อปี ค.ศ.1871 และเสียชีวิตในกรุงโรม ค..1958   บอลลามีคุณูปการต่อศิลปะลัทธิฟิวเจอริสม์มาก เป็นทั้งผู้สร้างสรรค์ที่มีบทบาทอย่างมากและมีช่วงเวลาการทำงานตามแนวทางฟิวเจอริสม์ยาวนานที่สุด คือตั้งแต่ ค..1920   เป็นอาจารย์ของ บอคโซนีและเซเวรินี ในช่วงปี ค..1900
Dynamism of a Dog on a Leash

Dynamism of a Dog on a Leash, Balla.
(ที่มา http://www.google.co.th/imgres?)



ศิลปะลัทธิดาดา (Dadaism Art)
คริสต์ศตวรรษที่ 19 โลกตะวันตกเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีพัฒนามาก  ประดิษฐ์เครื่องมือ  เครื่องใช้ใหม่ ๆ และปรับปรุงการคมนาคม  ก้าวหน้าทางอุตสาหกรรม และพานิชกรรมอย่างรวดเร็ว แข่งขันแย่งชิงประเทศอาณานิคมระหว่างมหาอำนาจ  เพื่อแสวงหาแหล่งวัตถุดิบและแหล่งระบายสินค้า  มหาอำนาจแบ่งออกเป็น 2 ฝ่าย ฝ่ายแรกคือ  อังกฤษกับฝรั่งเศส  อีกฝ่ายคือ เยอรมนีกับอิตาลี  ทั้งสองฝ่ายขัดแย้งกันเรื่องผลประโยชน์จนขยายตัวเป็นสงครามโลกครั้งที่ 1 ส่งผลการดำเนินชีวิตทั่วไปของชาวยุโรปประสบกับความยากลำบากอย่างยิ่ง
ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 คนส่วนใหญ่มีทัศนคติที่มุ่งทำลายล้างฝ่ายตรงข้ามอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน  มีความเป็นศัตรูทั้งที่ไม่เคยบาดหมางกัน ศิลปินและกวีกลุ่มหนึ่งจากประเทศคู่สงครามรวมตัวกันต่อต้านสงคราม  แล้วขยายตัวไปสู่การต่อต้านสังคมและกฎเกณฑ์ความงามทางศิลปะลัทธิต่างๆที่ยอมรับกันแบบเกลือจิ้มเกลือ  แทนที่จะแสดงออกถึงความงามทางศิลปะ               กลับแสดงออกถึงความน่าเกลียด  น่ากลัว  ตลก หยาบโลน ฯลฯ  เพื่อเตือนให้มนุษย์ตระหนักถึงผลลัพธ์ของสงคราม เรียกตนเองว่าลัทธิดาดา




กำเนิดของลัทธิดาดา
เริ่มต้นระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ค..1916 ที่ร้านขายเครื่องดื่มที่มีการบรรเลงดนตรีและเต้นรำ ชื่อ คาบาเรต์ วอลแตร์ (Cabaret Voltaire) ที่นครซูริค สวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งช่วงสงครามถูกกำหนดให้เป็นประเทศที่เป็นกลาง ร้านอาหารดังกล่าวมีการตกแต่งผนังด้วยผลงานจิตรกรรมของศิลปินที่มีชื่อเสียงหลายคน
ทริสตัน ซารา (Tristan Tzara) กวีหนุ่มชาวรูมาเนีย ซึ่งหนีทหารมาอยู่ซูริกเป็นผู้นำกลุ่ม โดยมีฮูโก บัลล์ (Hugo Ball) กวีและนักดนตรีเยอรมัน  ริชาร์ด ฮูลเซนเบค (Richard Huelsenbeck) กวีเยอรมัน คูต สวิตเตอส์ (Kurt Schwitters) จิตรกรและกวีเยอรมัน ฮานส์ อาร์ป (Hans Arp) จิตรกรฝรั่งเศส และคนอื่นๆ มาร่วมพบปะเสวนา
ผลจากความเชื่อ ความคิด สู่การปฏิบัติและการเคลื่อนไหว ทำให้ดาดาได้กลายเป็นลัทธิศิลปะที่มีความเคลื่อนไหวกว้างขวางทั่วยุโรปอย่างรวดเร็วจากปัจจัยแห่งความอัปลักษณ์ทางสังคมยุโรปขณะนั้น การเคลื่อนไหวของดาดากระจายไปที่กรุงเบอร์ลิน  โคโลญ อาโนเวอร์   ปารีส ฯลฯ ด้วยลักษณะรูปแบบศิลปะที่สับสนไร้กฎเกณฑ์
การเปลี่ยนแปลงของสภาวการณ์โลกที่ดีขึ้น และงานศิลปะแนวลัทธิเซอร์-เรียลิสม์ กำลังได้รับความนิยม ในค..1922 ศิลปินลิทธิดาดาจึงสลายตัว เข้าไปรวมกลุ่มและสร้างสรรค์ผลงานแบบเหนือจริง ตามแนวลัทธิเซอร์-เรียลลิสม์ ซึ่งสร้างสรรค์รูปแบบศิลปะออกมามากมายและท้าทายกว่า   เป็นการปิดฉากงานของกลุ่มศิลปินลัทธิดาดา แต่การสร้างงานเชิงเยาะเย้ยถากถางสังคมก็ส่งผลต่อวิธีคิด และการสร้างสรรค์ของศิลปินสมัยใหม่ในระยะต่อมา

ศิลปินลัทธิดาดา

มาร์เซิล ดูชัมป์ (Marcel Duchamp)

มาร์เซิล ดูชัมป์เป็นศิลปินลัทธิดาดาที่มีบทบาทสูงสุด ก่อนจะทำงานตามลัทธิดาดา เขาสร้างงานศิลปะตามแนวลัทธิฟิวเจอริสม์ งานที่โดดเด่น คือ ภาพคนปลือยกำลังลงบันได”  ลักษณะเด่นของดูชัมพ์ คือ การดูดซับสิ่งแวดล้อมและปรากฏการณ์รอบตัวอย่างรวดเร็ว แล้วสร้างสรรค์                 เป็นผลงานศิลปะอย่างฉับไวจากความคิดแปลกๆ  งานที่นำชื่อเสียงและกระตุ้นวงการศิลปะให้ความสนใจงานศิลปะแนวดาดาฃื่อ น้ำพุซึ่งเป็นโถปัสสาวะทำด้วยดินขาว แสดงความหมายผิดไป             จากเดิม ภาพโมนาลิซามีหนวด  ต้องการเยาะเย้ยภาพที่ชาวโลกจัดให้เป็นศิลปะชั้นสูง แสดงออกถึงความรื่นเริงของพวกดาดาที่ได้คัดค้านท่าที่ยอมรับแต่เดิม

File:Duchamp Fountaine.jpg
Fountain by Marcel Duchamp, 1917, photograph by Alfred Stieglitz
(ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Fountain_Duchamp)


ศิลปะลัทธิเซอร์-เรียลิสม์ (Sur – Realism Art)
ศิลปะลัทธิเหนือจริง เป็นความเคลื่อนไหวที่สืบต่อจากศิลปะลัทธิดาดา ปัจจัยที่ส่งผลต่อการสร้างงานลัทธิเซอเรียลิสม์ คือ ผลกระทบจากสงครามโลกครั้งที่1 (..1914-1918)                  ซึ่งนำความสูญเสียมาสู่ยุโรปเป็นอันมาก   แม้หลังจากสงครามสงบประเทศต่างๆ ก็บอบช้ำมาก ผลกระทบทางสังคมจากสงครามเกิดจากการที่พื้นที่เกษตรกรรมถูกระเบิดทำลาย  ทำให้เพาะปลูกไม่ได้  ก่อให้เกิดวิกฤตอย่างใหญ่หลวง  คนรอดตายไม่มีงานทำชีวิตว่างเปล่าไร้ความหวัง  ส่งผลให้หลายคนฆ่าตัวตาย
ในช่วงดังกล่าวนี้ที่พึ่งของศิลปินเป็นศิลปะและวรรณกรรม มิใช่พระหรือศาสนา ทำให้ศิลปินหาทางระบายออกด้วยการสร้างงานศิลปะ รวมทั้งการอ่านหนังสือ  โดยเฉพาะการสร้างงานสืบต่อจากลัทธิดาที่มีเป้าหมายต่อต้านสงคราม และทำลายค่านิยมทุกชนิดของชนชั้นกลาง ตลอดจนผลผลิตของอารยะธรรมตะวันตกเพื่อกำจัดเชื้อสงคราม





ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของซิกมันด์  ฟรอยด์ (Sigmund Freud ค.ศ.1856-1934)
จิตแพทย์ยิวผู้เสนอทฤษฎีจิตวิเคราะห์ เพื่อบำบัดโรคจิตเวชแบบใหม่  ถูกต่อต้านจากจิตแพทย์อื่นๆ แต่ได้รับความนิยมจากศิลปิน  ข้อเสนอ คือ  โรคจิตเกิดขึ้นเนื่องจากศิลปินมีความขัดแย้งและกังวลใจ  ทำให้แสดงความกลัวและความกังวลใจออกมาในรูปของสัญลักษณ์หรือกลไกทางจิตแบบต่างๆ  การรักษาให้หาย จำเป็นต้องสืบค้นลึกลงไปใต้จิตสำนึกเพื่อนำมาอธิบายให้ผู้ป่วยทราบ  จะทำให้หายจากโรคนี้ได้
ศิลปินลัทธิเซอร์-เรียลิสม์    ได้รับอิทธิพลจากวรรณกรรมเช่นกัน  งานเขียนของมาร์กีส์ เดอ ซาค โดนาเตียง อัลฟงส์ ฟรองซัวส์ เดอ ซาด ( Donatien Alphonse François de Sade) หรือที่รู้จักกันดีว่า มาร์กีส์ เดอ ซาด (Marquis de Sade)[1] นักเขียนและกวีแห่งคริสต์ศตวรรษที่๑๘  ผู้ใช้ความวิปริตทางอารมณ์(Sardism)เป็นอาวุธต่อต้านขนบประเพณีของสังคมชั้นกลางและคำสอนคริสต์ศาสนา

ความหมายของเซอร์-เรียลิสม์ตามทัศนะของเบรตอง (André Breton)
1. ข้าพเจ้าเชื่อในการแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นในอนาคต คือ ความฝันและความเป็นจริง สภาวะทั้งสองที่รวมกันนี้จะกลายเป็นความจริงสูงสุด เรียกว่า เซอร์-เรียลิสม์
2. เซอร์-เริยลิสม์  คือ  ความหมายอัตโนมัติของจิตบริสุทธิ์ ซึ่งแสดงออกถึงการทำงานแท้จริงของความคิด การพูด เขียนฯลฯ  การทำตามความคิดโดยปลอดจากการควบคุมของเหตุผล  ไม่เกี่ยวข้องกับสุนทรียศาสตร์และศีลธรรม
3. ความหมายเชิงปรัชญา  เชื่อในความจริงที่สูงกว่ารูปแบบความสัมพันธ์บางอย่างที่ถูกละเลยมาก่อนหน้านี้   เชื่อในอำนาจทั้งมวลของความฝันและการเล่นกับความคิดโดยไม่หวังประโยชน์   เซอร์-เรียลิสม์ มีแนวโน้มที่จะทำลายกลไกทางจิตแบบอื่นๆ ให้หมดไปโดยสิ้นเชิง
และต้องการแทนที่กลไกอื่นๆ เหล่านั้น  เพื่อแก้ปัญหาสำคัญๆ ของชีวิต
เซอร์-เรียลิสม์ คือการปลดปล่อยจิตให้เป็นอิสระอย่างสมบูรณ์  หากประสงค์จะมุ่งผสานความคิด เรื่องความเป็นจริงกับความไม่เป็นจริง เหตุผลกับความไม่มีเหตุผลการไตร่ตรองกับแรงกระตุ้น ความรู้กับความไม่รู้ ที่เป็นอันตรายความมีประโยชน์กับความไม่มีประโยชน์ ฯลฯ

ศิลปินลัทธิเซอร์-เรียลิสม์

มาร์ค ชากาล (Marc Chagall)

ชาวรัสเซียนเชื้อสายยิว เกิดเมื่อค..1889 เดินทางเข้ามาอยู่ปารีสตั้งแต่ปี ค..1910 และรวมกลุ่มสร้างผลงานกับศิลปินหัวก้าวหน้าทันที  ชากาลกลับไปทำหน้าที่ด้านศิลปะให้รัฐบาลรัสเซียที่มอสโคว์พักหนึ่งแต่ทัศนะด้านศิลปะ ชีวิต และระเบียบของสังคมไม่ตอบสนองการสร้างงานเชิงเหนือจริง  กลับมาอยู่ปารีส  สร้างงานอย่างจริงจังทั้งในยุโรปและสหรัฐอเมริกา จนมีชื่อเสียงและได้รับรางวัลจำนวนมาก


File:Chagall Bella.jpg                       Birthday by Marc Chagall

       Bella with White Collar, 1917                                       Birthday
(ที่มา http://en.wikipedia.org/wiki/Marc_Chagall)

ซัลวาดอร์ ดาลี (Salvador Dali)
                   ชาวสเปนเกิดเมื่อค..1904 เป็นจิตรกรสำคัญของลัทธิเซอร์-เรียลิสม์มีประสบการณ์ทำงานศิลปะสกุลช่างแบบต่างๆ มาหลายลักษณะเชี่ยวชาญด้านการใช้สีเป็นอย่างสูง แต่ก็ยุติและให้ความสำคัญกับการสร้างสรรค์ศิลปะในแบบเซอร์-เรียลิสม์อย่างมุ่งมั่น จนเปรียบเสมือนเป็นสัญลักษณ์ของเซอร์-เรียลิสม์  ดาลี ใช้ทฤษฏีอันฉับพลันของความเข้าใจอันไร้เหตุผลซึ่งมีพื้นฐานการตีความหมายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ของจิตอันแปรปรวน เขาพยายามสร้างระบบการใช้พลังความคิดฝันตามใจชอบ และประสบการณ์ส่วนตัวของศิลปิน ผสมกับการเน้นเรื่องของรูปทรงประหลาดหลายๆ อย่างเป็นพิเศษ

File:Salvador Dali NYWTS.jpg


นอกจากนี้ ดาลียังคงใช้เทคนิคตามแบบอย่างของศิลปินโบราณหรือแบบปกติทั่วไป ยังสร้างเครื่องปั้นดินเผา ประติมากรรมและภาพยนตร์ด้วย ในระหว่างปี ค..1938-1939 เขาได้กลับไปวาดภาพแบบโบราณ ค..1940 เดินทางไปยังสหรัฐอเมริกา และก่อความเกรียวกราวด้วยวิธีการโฆษณาตัวเองอย่างประหลาดแก่วงการทั่วไปของอเมริกา








 








The Persistence of Memory(1931)





File:SalvadorDali-SoftConstructionWithBeans.jpg


Soft Construction with Boiled Beans (Premonition of Civil War) (1936)
(ที่มาhttp://en.wikipedia.org/wiki/Salvador_Dali)


แบบฝึกหัดบทที่ 8

1. ศิลปะลัทธิโฟวิสม์ มีความเป็นมาอย่างไร
ตอบ______________________________________________________________________________________________
____________________________________________________
2. แนวทางการสร้างสรรค์งานของกลุ่มสะพานสะท้อนเรื่องราวอะไรบ้าง
ตอบ  ________________________________________________
____________________________________________________
3. แนวทางการสร้างสรรค์งานของกลุ่มม้าสีน้ำเงินเป็นอย่างไรบ้าง
ตอบ  _______________________________________________
____________________________________________________
4. ศิลปินที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้นำลัทธิเอกเพรสชันนิสม์ คือ ใคร      
ตอบ  _______________________________________________________________
5. ศิลปะลัทธิคิวบิสม์ หรือ Cubism Art มีรากฐานมาจากอะไร
ตอบ  ______________________________________________
____________________________________________________
6. ศิลปะลัทธิคิวบิสม์เชื่อในเรื่องใด
ตอบ  ___________________________________________
_______________________________________________________________________________________________________
7. ภาพ เกอนีแค” (..1937) เป็นผลงานของศิลปินคนใด
ตอบ  ______________________________________________
8. ผลงานศิลปะที่ชื่อ บ้านที่เลสตัคในพิพิธภัณฑ์ที่กรุงเบอร์น เป็นของศิลปินคนใด
ตอบ  ____________________________________________
9. ผู้ที่ได้รับยกย่องว่าเป็นบิดาของศิลปะนามธรรมคือใคร
ตอบ  _______________________________________________
10. จิตรกรลัทธินามธรรมเอ็กเพรสชันนิสม์ ที่มีชื่อเสียงและโดดเด่น  ได้รับฉายาว่าเป็นจิตรกรแบบ Action Painting  คือ ใคร
ตอบ  _______________________________________________

 11.ศิลปะลัทธิดาดามีพัฒนาการทางความคิดเริ่มแรกมาอย่างไร
ตอบ  ________________________________________________
________________________________________________________________________________________________________
____________________________________________________
12. การสลายตัวของศิลปะลัทธิดาดาเกิดขึ้นได้อย่างไร
ตอบ  _______________________________________________________________
____________________________________________________
13. ศิลปะแนวดาดาชื่อ น้ำพุ และภาพโมนาลิซามีหนวดเป็นผลงานของใคร
ตอบ  ________________________________________________
14. ศิลปินลัทธิเซอเรียลิสม์ที่ใช้ทฤษฏีอันฉับพลันของความเข้าใจอันไร้เหตุผลอันมีพื้นฐานมาจากการตีความหมายเกี่ยวกับปรากฏการณ์ของจิตอันแปรปรวนคือใคร
ตอบ  ____________________________________________________
15. ความหมายเชิงปรัชญาของเซอร์-เรียลิสม์ คืออะไร
ตอบ  ____________________________________________________
____________________________________________________




[1]   เขียนงานด้านปรัชญา และมักจะเป็นเรื่องทางกามารมณ์ที่รุนแรง บ้างก็เป็นงานเชิงปรัชญาที่เคร่งครัดจริงจัง ผลงานของเขามักจะเน้นเสรีภาพสุดโต่ง โดยไม่ถูกจำกัดด้วยจริยธรรม ศาสนา หรือกฎหมาย และมุ่งเน้นสุขารมณ์ส่วนตัวเป็นหลักใหญ่ ผ่านการทรมานร่างกายในรูปแบบต่างๆ ผลงานของเขาส่วนมากเขียนขึ้นในช่วง 29 ปีที่เขาถูกจับขังในโรงพยาบาลบ้า  ชื่อของเขาออกเสียงว่า "มากี เดอ ซาด" [maʁ'ki.də.sa:d] ; อันเป็นที่มาของคำว่า ซาดิสม์ (sadism) นั่นเอง(http://th.wikipedia.org/wiki

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น